Restorative Justice and The Compromise of criminal Disputes at the Police Interrogation Stage

Main Article Content

สิทธิกร ศักดิ์แสง

Abstract

การระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวนจะมีหลักการอยู่ที่ผู้เสียหาและผู้ต้องหาได้มีโอกาสประนีประนามยอมความกัน เมื่อผู้ต้องหาสำนึกผิดและยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขณะเดียวกันผู้เสียหายได้รับการเยียวยาและได้รับค่าชดใช้ค่าเสียหายโดยรวดเร็วทันที ซึ่งเป็นและไปตามหลักนิติสมบัติ (Rechgut) หรือหลักคุณะรรมทางกฎหมาย ซึ่งจะเป็นผลดีแก่คู่กรณีและสังคมมากกว่า เพราะสามารถลดระยะเวลาและความยุ่งยากซับซ้อนในกระบวนการยุติธรรม ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ลดการทุจริตของเจ้าพนักงานและลดงดงบประมาณภาครัฐ อีกทั้งส่งผลให้ประชาชนทุกระดับเข้ามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติะรรมและป้องกันปัญหาความขัดแย้งในชุมชนเพื่อเสริมสร้างให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ตามทฤษฎี "อาชญาวิทยาแนวสันติวิธี" (Peacemaking Criminology) ซึ่งเป็นกระบวนการค้ำชูผู้มีส่วนร่วมได้เสียในการกระทำความผิดได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพื่อร่วมกัน ระบุชี้และจัดการความเสียหายความต้องการของแต่ละฝ่ายเพื่อให้สามารถฟื้นฟูเยียวยา (Restoration) ทำให้ความเสียหายกลับคืนได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้


ผู้วิจัยทำการศึกษาวิจัยถึงหลักการทั่วไปเกี่ยวกับยุติธรมเชิงสมานฉันท์และนวทางวิธีปฏิบัติที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งของต่างประเทศและของไทยโดยการศึกษาวิเคราะห์ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงัข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวนตามประมวลกฎหมายและตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่มีเอกชนเป็นผู้เสียหายและมีเอกชนเป็นผู้หายร่วมกับรัฐที่เป็นคดีเล็กๆน้อยๆ ไม่ควรจะนำคดีอาญาดังกล่าวขึ้นสู่ศาลควรใช้กระบวนการเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน รวมทั้งศึกษาจากตำรางานวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารจากการสัมมนาต่างๆ วารสารข้อมูลทางอินเทอรฝ์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ดังกล่าวข้างต้น


จากการศึกษาวิจัยพบว่าจากผลการศึกษาวิจัยที่รับข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การประชุม สัมมนาและการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้มีการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน มีข้อสรุปได้ดังนี้


1.ควรที่จะมีกฎหมายใหม่มารองรับเป็นข้อยกเว้นหรือเป็นการเบี่ยงเบนคดีในคดีอาญาบางประเภทที่ไม่สมควรที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก(Mainstream Justice)


2. ความผิดอาญาประเภทที่ควรนำมาใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน ดังนี้


1)คดีอาญาอันยอมความได้


2)คดีลหุโทษ


3)การกระทำความผิดโดยประมาทซึ่งรวมไปถึงการกระทำโดยประมาทในคดีจราจรด้วย


4)คดีอาญาอันยามความมิได้ที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี


3.เมื่อมีการดำเนินการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวนแล้วไม่ควรจะดำเนินการกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักควรให้เป็นเหตุอายุความในการดำเนินคดีอาญาสะดุดหยุดอยู่


4.รูปแบบและองค์กรที่ใช้ในการบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวนแยกพิจารณาสรุปออก 2 ประเด็น คือ


1) รูปแบบการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-เหยื่อผู้กระทำความผิด (Victim-offenders Mediation(VOM))


2) องค์กรที่เป็นคณะอำนวยการไกล่เกลี่ยกับผู้ไกล่เกลี่ย


5.การที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวนไม่ควรให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้เข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการรระงับข้อพิพาท (ไกล่เกลี่ย) คดีอาญา


6.การติดตามและการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวนนั้นต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้กระทำความต้องปฏิบัติสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อผู้กระทำความผิดได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อตกลงครบถ้วนแล้ว


การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในกระระงับข้อพิพาทคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อผุ้กระทำความผิดได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อตกลงครบถ้วนแล้ว


การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวนนนั้นจะทำให้กระบวนการยุติธรรมของไทยมีศักยภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นไปในลักษะแบบ Win-Win ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทในชั้นสอบสวน ดังนี้


Win ที่ 1 เป็นประโยชน์แก่ผู้เสียหายหรือเหยื่อาชญากรรมในการได้รับแก้ไขเยียวยา รวมทั้งการปรับสามัญสำนึกการให้อภัยแก่ผู้กระทำความผิด


Win ที่ 2 เป็นประโยชน์กับผู้กระทำความผิดที่สำนึกในการกระทำความ การชดใช้ค่าเสียให้กับผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายให้อภัยกับผู้กระทำความผิด


Win ที่ 3 ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ลดการทุจริตของเจ้าพนักงานและลดงบประมาณภาครัฐ


Win ที่ 4 เป็นการส่งผลให้ประชาชนทุกระดับเข้ามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมและป้องกันปัญหาความขัดแย้งในชุมชนเพื่อเสริมสร้างให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข


Win ที่ 5 เป็นการรองรับการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอัยการ

Article Details

How to Cite
ศักดิ์แสง ส. (2010). Restorative Justice and The Compromise of criminal Disputes at the Police Interrogation Stage. Journal of Thai Justice System, 3(3), 33–62. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTJS/article/view/245753
Section
Research Articles

References

หนังสือ

โกเมศ ขวัญเมืองและสิทธิกร ศักดิ์แสง"การศึกษาแนวใหม่ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป" (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2549)

คณิต ณ นคร "ประมวลกฎหมายอาญาหลักกฎหมายและพื้นฐานการเข้าใจ" อนุสรน์งานฌาปนกิจ

นางเปรียบ ณ นคร วัดมกุฎกษัตริย์ยารามราชวนวรวิหาร กรุงเทพฯ วันที่ 4 สิงหาคม 2552

วันชัย รุจนวงศ์ "กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์" (กรุงเทพฯ : กรทพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน, ม.ป.ป.) หน้า 1

งานวิจัยและวิทยานิพนธ์

ณภัทร กตเวทีเสถียร "การระงับข้อพิพาทในคดีอาญาโดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์(ศึกษาเฉพาะความผิดที่มีผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา)"(วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2547)

สุวิจักขณ์ โฉมวงษ์, "การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน" (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2548)

เอกสารและวารสาร

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์และคณะ"อาชญากรรมพื้นฐานกับกระบวนการยุติธรรม : ปัญหาอุปสรรคและแนวทางควบคุม" เอกสารประกอบสัมมนา, โรงแรมอิมพิเรียล กรุงเทพมหานคร, 11 มิถุนายน 2529

David Miers, An international Review of Restorative Justice - Crime Reduction Research Series Paper 10 (London : HMSO, 2000) ถอดความและเรียบเรียง โดย ชาติ ชัยเดช ในเอกสาร ประกอบการสัมมนา "ร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....." จัดโดยสถาบันวิจัยและพํฒนากระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม วันพุธ ที่ 20 พฤษภาคม 2552 ณ ห้องแกรนด์ บอลรูน โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร

ร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้อง คดีอาญา พ.ศ. ...

การประชุมและการสัมมนา

การประชุมของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการไกล่คดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนในคณะกรรมาธิการ การยุติธรรมและตำรวจ วุฒิสภาครั้งที่ 1-33 ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 102 ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 2

การสัมมนาเรื่อง "การไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นสอบสวน" ดังต่อไปนี้

การสัมมนา ณ อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการ ฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2551

การสัมมนา กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2551

การสัมมนา ณ โรงแรมไดมอนส์ อำเถอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 28 - 29 มีนาคม 2552

การสัมมนา ณ โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2552

การสัมมนา ณ โรวแรมเดอะรีเจนซี่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 7-9 สิงหาคม 2552

การสัมมนา ณ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบศีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2552

การประชุมคณะทำงานพิจารณาทบทวน"ร่างพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน พ.ศ. ....." ของสำนักงานกิจการยุติธรรมเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 อ้าง http://2.oja.go.th/preview/detail.php?new_idx=965

การให้ความเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

พลตำรวจเอก ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

พล.ต.ต. ชยุต ธนทวีรัชต์ รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธร ภาค 1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธานี วรภัทร์ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ พนมยงค์ มหาวทิยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัด สุราษฎร์ธานี

นายนุกูล นาคจุติ กำนันตำบลวังตะกออำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

กฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

ประมงลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539