คอร์รัปชั่น อาชญากรรมของแผ่นดิน

Main Article Content

พิเชษฐ พิณทอง

Abstract

การทุจริตคอร์รัปชั่นถือเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด ก่อให้เกิดความเสียหายและความสูญเสีทั้งต่อทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้นตอของปัญหาด้านอื่นๆไม่ว่าจะเป็น ปัญหาความยากจน การศึกษาไม่มีคุณภาพ ปัญหาสาธารณสุข สาธาณูปโภค อาชญากรรม ยาเสพติด ล้วนเกิดจากการคอร์รับชั่นทั้งสิ้น หากนำหลักทฤษฎีทางอาชญาวิทยาที่กล่าวถึงประเภทของอาชญากรรมมาอธิบายเรื่องเกี่ยวกับการคอร์รับชั่น จะพบว่าการคอร์รับชั่นนั่นเป็นอาชญากรรมคอปกคาวและอาชญากรรมองค์การ เพราะฉะนั้นจึงควรขยายแนวความคิดไปสู่ประชาชนโดยทั่วไปทั้งประเทศให้คิดว่า การคอร์รัปชั่นถือเป็นอาชญากรรมขอแผ่นดิน คนที่คอร์รับชั่นเป็นอาชญากร จะทำให้ประชาชนตระหนัก หวั่นเกรงและหวาดกลัวจนนำไปสู่การระวังป้องกันและจัดการอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น ในส่วนนโยบายรัฐบาลจะต้องถือว่าการป้องกันและปราบปรามเป็นเรื่องเร่งด่วนของประเทศ และต้องให้ความสำคัญทั้งการป้องกันและจัดการอย่างจริงจัง ควรที่สร้างกลไกการประสานภารกิจการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และทำข้อตกลงร่วมกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเพื่อผนึกพลังในการปฏิบัติป้องกันและแก้ขไปัญหาการทุจริตเข้าด้วยกันสร้างกระบวนการตรวจสอบความซื่อสัตย์สุจริตเจ้าหน้าที่รัฐอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะหน่วยงานที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ประชาชนได้ นากจากนี้ควรที่จะพัฒนาเครือข่ายการป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคสังคม ชุมชนและประชาชน ให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชั่นของประเทศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้มากที่สุด

Article Details

How to Cite
พิณทอง พ. (2010). คอร์รัปชั่น อาชญากรรมของแผ่นดิน. Journal of Thai Justice System, 3(4), 85–96. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTJS/article/view/245781
Section
Academic Articles

References

กมล กมลตระกูล. อย่าร้องไห้ตามอาร์เจนตินา. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์มติชน. 2549.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. กลเม็ดเด็ดปีกคอร์รับชั่น.กรุงเทพมหานคร. บริษัทซัคเซส จำกัด. 2547.
คณะกรรมาธิการด้านการป้องกันและปราบปราบการทุจริตสภาผู้แทนราษฎร. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.eastasiawatch.in.th (2553) คณะกรรมาธิการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตสภาผู้แทนราษฎรเยือนเวียนนาม. สืบค้น 6 กรกฎาคม 2553.
ชูชาติ สว่างสาลี. ค่าโง่อัปยศแสนล้าน. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ ก.พล. 2545.
ธีรเดช เอี่ยมสำราญ และเอื้อมพร สิงหการจน์. ปอกเปลือก ฯพณฯ. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์มติชน. 2548.
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. นักการเมืองไทย จริยธรรมผลประโยชน์ทับซ้อนการคอร์รับชั่น สภาพปัญหา สาเหตุผลกระทบแนวทางแก้ไข. กรุงเทพมหานคร. ห้างหุ้นส่งนการพิมพ์พระนคร. 2531.
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่คณะผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม. (เอกสารสำเนา) 2546.
พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. วารสารบริหารและการจัดการ. อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมคอปกขาว ลักษณะและการควบคุม. กรุงเทพมหานคร. 2535.
วิทยากร เชียงกูล. แรวทางปราบคอร์รัปชั่นอย่างได้ผล. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์สายธาร. 2549.
วันชัย รุจนวงศ์. ผ่าองค์กรอาชญากรรมมะเร็งร้ายของสังคม. กรุงเทพฯสำนักพิมพ์มติชน. 2548.
มติคณะรัฐมนตรีรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร วันที่ 13 ตุลาคม 2547, เรื่องยุทธศาสตร์และมาตรการเพื่อการป้องกันแก้ไขและปราบปรามการทุจริต.สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. กรุงเทพมหานคร. สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2549.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร. บริษัท 99 กรุ๊ป เทรดดิ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.2550.
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.การคอร์รับชั่นในสังคมไทย ปัญหาและทางออก. กรุงเทพมหานคร. บริษัท ปาปิรุส พับลิเคชั่น จำกัด. 2547.
องค์กรเพื่อความโปรงใส่ในประเทศไทยและศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม.ปาฐกถาพิเศษ ความโปร่งใสและธรรมรัฐ นายอานันท์ปันยารชุน. กรุงเทพมหานคร.
องค์กรเพื่อความโปรงใส่ในประเทศไทยและศูนย์สาธารณประโยชน์ปและประชาสังคม สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2543.
องค์กรเพื่อความโปร่งใส่ในประเทศไทย. ดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทย
ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 - 2550. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.transparency.org/ สืบค้น13 กรกฎาคม 2553.