การใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขตของตำรวจ: ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

Main Article Content

พิเชษฐ พิณทอง

Abstract

บทความวิชาการชิ้นนี้ ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการปฏิบัตหน้าที่ของตำรวจ โดยเชื่อว่าตำรวจส่วนใหญ่เป็นตำรวจที่ดีพยายามที่จะที่ทุ่มเทในการทำงานเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชน มีใจรักในงานของตำรวจที่ต้องการรับใช้ประชาชนและอำนวยความยุติธรรมให้แก่สังคม เพื่อให้สังคมอยู่กันอย่างมีความสงบเรียบร้อย แต่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจบางส่วนที่ใช้อำนาจในทางมิชอบเกินขอบเขตจนไปกระทบสิทธิมนุษยชนของประชาชน สังคม บทความชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนใหญ่ซึ่งเป็นตำรวจส่วนใหญ่ซึ่งเป็นตำรวจน้ำดี ร่วมแรงร่วมใจกันในการสร้างแนวคิด และสร้างทัศนคติให้เจ้าหน้าที่ตำรวจบางส่วนที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติหน้าที่มากกว่าสิ่งอื่นใด รวมไปถึงต้องการแรงสนับสนุนความคิดเกี่ยวการปฏิบัติงานต่างๆ ที่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เป็นขั้นตอน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในสังคมโดยรวม ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ได้นำมาวิเคราะห์นำเสนอในบทความชิ้นนี้เป็นการรวบรวมจากเอกสารต่างๆ จากหลากหลายประเภท ประกอบไปด้วย เอกสารและรายงานการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ บทความทางวิชาการ จดหมายราชการ หนังสือร้องเรียน และความคิดเห็นที่นำเสนอผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ INTERNET รวมไปถึงการปาฐกถาพิเศษที่เกี่ยวข้องส่วนการนำเสนอรายละเอียดของบทความจะอธิบายถึงความหมาย ประวัติความเป็นมาของสิทธิมนุษยชนของต่าองประเทศและประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเกี่ยวกับปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจบางส่วนที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตโดยไม่คำนึงถึงเรื่องของสิทธิมนุษยชนจนเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน


จากการวิเคราะห์วรรณกรรมพบว่า สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางกาย สุขภาพ รวมทั้งความเชื่อทางศาสนา หรือ ความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยไม่ขึ้นอยู่กับขอบเขตของกฎหมายหรือกฎระเบียบข้อบังคับใดๆ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติ เรื่องของสิทธิมนุษยชนจึงเป็นหน้าที่อันสำคัญของมวลมนุษยชาติที่จะต้องร่วมกันปกป้องคุ้มครองและรักษาไว้ ซึ่งรัฐจะต้องให้หลักประกันในการดูแลประชาชนของตนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช้อำนาจรัฐหรืออำนาจในทางกฎหมายละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่ในการรักษากฎหมายและบบังคับใช้กฎหมายมากที่สุด คือเจ้าหน้าที่ตำรวจควรที่จะรำลึกอยู่เสมอว่าการใช้อำนาจในหน้าที่ควรอยู่ในกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และไม่ใช้อำนาจเกินขอบเขต เนื่องจากหากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการใช้อำนาจมากเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น การข่มขู่ การซ้อมผู้ต้องหาหรือ ผู้ต้องสงสัย จนถึงการอุ้มฆ่าจะกลายเป็นการละเมิด


สิทธิมนุษยชนในที่สุด สังคมและเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายควรที่จะร่วมกันในการสร้างแนวคิดทัศนคติให้เจ้าหน้าที่ตำรวจคำนึงถึงหลักกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติหน้าที่มากกว่าสิ่งอื่น และให้้การปฏฺิบัติหน้าที่ให้เข้าสู่กระบวนการหรือระบบยุติธรรมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การปฏิบัติงาน ต่างๆ ก็จะไม่เกิดการกระทบต่อสิทธิมนุษยชนประชาชนแต่อย่างใด

Article Details

How to Cite
พิณทอง พ. (2011). การใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขตของตำรวจ: ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน. Journal of Thai Justice System, 4(1), 33–46. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTJS/article/view/245786
Section
Academic Articles

References

สำนักงานกำลังพล. 2551. อัตรากำลัง ข้อราชการตำรวจ. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

กุมพล พลวัน. 2547. สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
จรัญ โฆษณานันท์. 2545. สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน ปรัชญา กฎหมาย และความเป็นจริงทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
ชะวัชชัย ภาติณธุ. 2546. กระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการณ์สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียสโตร์.
ไทยโพสต์. 2552. แนะตั้งองค์กรปฏิรูป ตร. ปชช. เชียร์ทำ. จาก WWW.THAIPOST.NET. วันที่สืบค้น 18 ธันวาคม 552.
บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์. 2552. ความสำคัญของสิทธิมนนุษยชนกับนักกฎหมาย. การบรรยายให้ความรู้ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับกลางรุ่นที่ 9 จัดโดยสถาบันพระปกเกล้าร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ปัญญาไท. 2552. ความหมายและที่มาสิทธิมนุษยชน. จาก WWW.PANYATHAI.COM วันที่สิบค้น 20 ธันวาคม 2552.
ประชาไท. 2552. องค์กรสิทธิจัดอันดับ 10 ก้าวหน้า 10 ถดถอย สิทธิมนุษยชน.จาก WWW.PRACHATAI.COM วันที่สืบค้น 17 ธันวาคม 2552.
มติชนรายวัน. 2552. ผู้การวิสุทธ์ผลงานใหญ่การละเมิดสิทธิมนุษยชน. จาก WWW.MATICHON.CO.TH วันที่สืบค้น 19 ธันวาคม 2552.
วไล ณ ป้อมเพชร. 2545. เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษาในคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ.
วันชัย ศรีนวลนัด (พลตำรวจเอก). 2552. ความสำคัญของสิทธิมนุษยชนกับนักกฎหมาย.การบรรยายให้ความรู้ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับกลางรุ่นที่ 9 จัดโดยสถาบันพระปกเกล้าร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
เพ็ญนภา จันทร์แดง. 2552. ไทยกับสิทธิ มนุษยชนบนเวทีอาเซียน. มติชนรายวัน วันที่ 23 สิงหาคม 2552.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. 2552. สิทธิมนุษยชนรากฐานของประชาธิปไตย. จาก WWW.ETC.GO.TH. วันที่สืบค้น 19 ธันวาคม 2552.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. 2552. รายงานการร้องเรียนจำแนกตามลักษณะต่างๆ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2552.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. 2551. รายงานการร้องเรียนจำแนกตามลักษณะต่างๆ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ถึง 30 กันยายน 2551.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. 2550. รายงานการร้องเรียนจำแนกตามลักษณะต่างๆ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2550.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. 2549. รายงานการร้องเรียนจำแนกตามลักษณะต่างๆ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ถึง 30 กันยายน 2549.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. 2548. รายงานการร้องเรียนจำแนกตามลักษณะต่างๆ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2548.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. 2547. รายงานการร้องเรียนจำแนกตามลักษณะต่างๆ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2546 ถึง 30 กันยายน 2547.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. 2546. รายงานการร้องเรียนจำแนกตามลักษณะต่างๆ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึง 30 กันยายน 2546.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. 2545. รายงานการร้องเรียนจำแนกตามลักษณะต่างๆ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ถึง 30 กันยายน 2545.
ศูนย์ข้อมูลทางกฎหมายแห่งเอเซีย(ALRC). 2548. เอกสารแถงการณ์ เรื่อง "มลทินในวงการตำรวจการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม และนิติวิทยาศาสตร์ไทย". จัดโดยนำเสนอต่อการประชุมคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่เมืองเจนีวา ในวันที่ 31 มีนาคม 2548.
หน้าสือราชการ. 2552. เรื่อง "ขอให้ปฏิรูปจำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) สร้างบรรทัดฐานคดีสิทธิมนุษยชน หยุดวัฒนธรรมไม่ ต้องรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้มีอำนาจผู้กระทผิดจะต้องไม่ลอยนวล" ถึงนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ นายกรัญมนตรี เลขที่ พิเศษ/2552 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2552.
หนังสือราชการ. 2551. เรื่อง "ข้อเสนอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยนชนโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ถึง ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ลงวันที่ 17 ตุลาคม
2551.
อังคณา นีละไพจิตร. 2552. ความสำคัญของสิทธิมนุษยชนกับนักกฎหมาย. การบรรยายให้ความรู้ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับกลางรุ่นที่ 9 จัดโดยสถาบันพระปกเกล้าร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
การนำเสนอเรื่อง "ปัญหาสิทธิมนุษยชนของไทย" ของสื่อมวลชน จาก WWW.THE-THAINEWS.COM วันที่สืบค้น 18 ธันวาคม 2552.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. 2553. บันทึกการเสวนา หัวข้อ "สิทธิมนุษญชนระหว่างตำรวจกับผู้ต้อง" วันที่ 14 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุมศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยสถาบันนักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน จาก WWW.NAKSIT.ORG วันที่สืบค้น 31 สิงหาคม 2553.
เกษมศานต์ โชคิชาครพันธุ์ และคณะ. 2552. รายงานวิจัย การศึกษามาตราการป้องกันเพื่อปรับปรุงกระบวนการใช้อำนาจเกินขอบเขตกรณีเจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
WEERAPONG WORRWAT. 2009. สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย. จาก WWW.WEERAPONGWORRWAT.COM วันที่สืบค้น 18 ธันวาคม 2552.