MANAGEMENT OF THE PARTY NETWORK FOR THE PREVENTION AND SUPPRESSION OF HUMAN TRAFFICKING IN THAILAND

Main Article Content

พชร สันทัด
เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการของภาคีเครือข่ายในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยและเพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดการของภาคีเครือข่าย ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 33 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า การจัดการของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี มีรูปแบบกลไก กระบวนการทำงานของภาคีเครือข่าย ในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ซึ่งในระดับจังหวัดมีรูปแบบการดำนเนิงานโดยให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันทำงาน คือ ตำรวจ มีหน้าที่ในการจับกุม การดำเนินคดีสืบสวน และการออกตรวจสถานบริหารสถานประกอบการ รวมทั้งพื้นที่ที่อาจมีกลุ่มเสี่ยง สำนักงานสัวสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานจัดหางานจังหวัดมีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดหางานของแรงงานต่างด้าว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมีหน้าที่ดูแลเยียวยาเหยื่อ หรือ ผู้เสียหาย มีการปฏิบัติงานในเชิงรุก โดยมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานค้ามนุษย์โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นผู้จัดดำเนินการอบรม รวมทั้งมีการจัดอบรมให้กับผู้ประกอบการทุกประเภท โดยมีสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดร่วมกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดเป็นผู้จัดดำเนินการอบรม มีการประชุมคณะทำงาน โดยมีการรายงานผลการปฏิบัติงานให้หน่วยงานระดับสูงทราบทุกเดือน ส่วนในระดับอำเภอ รูปแบบการดำเนินงานมีการบูรณาการทำงานร่วมกันกับ 4 หน่วยงานหลัก โดยมีนายอำเภอเป็นประธานหรือมอบหมายให้ปลัดอำเภอ ทำงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ตำรวจท้องที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และมีโรงพยาบาลส่วงเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ช่วยดูเยียวยาผู้เสียหาย


ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พบว่า ควรให้ทุกหน่วยงานของภาคีเครือข่ายต้องมีส่วนร่วมในทุกเรื่องของการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์สามารถเรียนรู้ บูรณาการทำงานร่วมกันแทนกันได้ เพื่อให้มีความเป็นเอกภาพในการทำงานร่วมกัน และเกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ควรจัดทำระบบข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการค้ามนุษย์ให้ทันสมัย และสามารถเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ในทุกระดับ ควรมีการสร้างกลไกความร่วมมือขายผลไปยังประชาชนและเครือข่ายทุกกลุ่มของสังคมให้มีการป้องกัน เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ควรมีบุคลากรที่มีความสามารถในการจัดการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ประจำศุนย์พิทักษ์สตรี เด็ก ครอบครัวและปราบปราบการค้ามนุษย์ เพื่อทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เพราะ การดำเนินงานการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะทาง

Article Details

How to Cite
สันทัด พ., & รัชดาพรรณาธิกุล เ. (2016). MANAGEMENT OF THE PARTY NETWORK FOR THE PREVENTION AND SUPPRESSION OF HUMAN TRAFFICKING IN THAILAND. Journal of Thai Justice System, 9(1), 23–41. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTJS/article/view/246593
Section
Research Articles

References

บันดาล บัวแดง, พัชรินทร์สิรสุนทร, ทวีศักดิ์ ศิริไพบูลย์, และเดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ. (2556). การค้ามนุษย์ในโลกไร้พรมแดน Human Trafficking Borderless World. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : บริษัท เบสิค เกียร์ จำกัด.

พชร สันทัด และเชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล. (2557). การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของสถานีตำรวจนครบาล, วารสารกระบวนการยุติธรรม.7 (1) : 1-15.
พรนิกา อ่อนเกิด และคณะ. (2556). รูปแบบการดำนเนิงานขององค์กรและหน่วยงานในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการค้ามนุษย์กรณีศึกษาองค์กรและหน่วยงานจังหวัดกาญจนบุรี. ชุดโครงการศึกษาบทบาทชุมชนในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการค้ามนุษย์. บทความวิจัย (Research Articles) ด้านการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการค้ามนุษย์. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศศิพร แม้นนนทรัตน์ และคณะ. (2556). กลไกการดำเนินงานในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการค้ามนุษย์ของภาคีเครือข่ายจังหวัดระนอง. ชุดโครงการศึกษาบทบาทชุมชนในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการค้ามนุษย์. บทความวิจัย (Research Articles) ด้านการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการค้ามนุษย์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แห่งชาติ. (2553). นโยบายยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2554-2559. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สมาคมนักวางแผนการเงินไทย. (2557). สหรัฐฯ ปรับลดอันดัลไทยสู่ระดับต่ำสุด (Tier 3): รายงานการค้ามนุษย์ 2014. TFPA NEWSLETTER, 23;10-11, สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2558, เข้าถึงได้จาก http://goo.gl/Oohn3o
สุชาดา ทวีสิทธิ์. (2556). สถานะของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์.จดหมายข่าวประชากรและการพัฒนาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. 33 (3).
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี. (2557). สถานการณ์และการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2557.
อีเลน เพียร์สัน. (2546). การค้ามนุษย์ สิทธิมนุษยชนกับนิยามใหม่อขงการคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อ (กุลวดี ทองไพบูลย์, ผู้แปล). ลอนดอน, สหราชอาณาจักร : องค์การสากลต่อต้านความเป็นทาสและมูลนิธิผู้หญิง.
เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข. (2552) รายงานพิเศษขึ้นบัญชีดำ 4 จังหวัดท่าเรือประมงที่มีปัญหาการค้ามนุษย์ขั้นรุนแรง. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา.
Thai Asian Friendship Society Network. (2558). เครือข่าย : การบริหารจัดการ. สืบค้น เมื่อ 18 ตุลาคม 2558. เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow.org/post/162766