ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในวัยรุ่น: การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มระหว่างกลุ่มวัยรุ่น ที่กระทำความผิดกับกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในวัยรุ่น และเพื่อสร้างสมการจำแนกประเภทปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหาระหว่างกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิด 300 คน กับกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย 300 คน กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 17 ปี โดยที่ผู้ปกครองอนุญาตให้ตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลส่วนที่ 2 แบบประเมินปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 4 ฉบับ มีค่าดัชนี IOC อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00
การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการจำแนกกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิดกับกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนปลายโดยใช้สถิติการจำแนกกลุ่มพหุคูณ (Multiple Discriminant Analysis) ด้วยการวิเคราะห์แบบขั้นตอน (Stepwise Method)โดยใช้สถิติวิลค์สแลมดา (Wilks’ Lambda) เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวแปรเข้าวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่มีอำนาจจำแนกกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิดและกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนปลายทั้ง 2 กลุ่มได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Wilks’ Lambda= .336, p< .001) และสามารถจำแนกได้ถูกต้องถึงร้อยละ 90.5 มี 4 ตัวแปร ได้แก่ การรับรู้หน้าที่ของครอบครัว (X1) การรับรู้บรรทัดฐานกลุ่มเพื่อน (X2) การมุ่งอนาคต (X3) และการควบคุมตนเองที่ไม่ดี (X4) ซึ่งสมการจำแนกประเภทที่ได้สามารถคาดคะเนการเป็นสมาชิกกลุ่มนักเรียน
วัยรุ่นตอนปลายได้ถูกต้องร้อยละ 98 กลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิดได้ถูกต้องร้อยละ 83 และทั้งสองกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 90.5 สามารถแสดงสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ: Y = -.737 + .052 (X1) +.057 (X2) -.116 (X3) - .033 (X4)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน: Z = .654 (X1) + .415 (X2) -.482 (X3) - .393 (X4)
จากค่าสัมประสิทธิ์ที่เป็นมาตรฐานของตัวแปรการรับรู้หน้าที่ของครอบครัว (X1) และการรับรู้บรรทัดฐานกลุ่มเพื่อน (X2) มีค่าเป็นบวกจึงเป็นตัวแปรที่มีแนวโน้มจะเป็นลักษณะของกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย ส่วนค่าสัมประสิทธิ์ที่เป็นมาตรฐานของตัวแปรการมุ่งอนาคต (X3) และการควบคุมตนเองที่ไม่ดี (X4) มีค่าเป็นลบ จึงเป็นตัวแปรที่มีแนวโน้มจะเป็นลักษณะของกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิด
Article Details
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารกระบวนการยุติธรรม แต่ความคิดเห็นที่ปรากฏในเนื้อหาของบทความในวารสารกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
References
ดวงใจ กสานติกุล. (2536). โรคอารมณ์แปรปรวน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2530). ลักษณะทางจิตและพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงในครอบครัวและทางป้องกัน. กรุงเทพฯ: สํานักงานส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.
ดุษฎี โยเหลา และคณะ (2540). ปัจจัยบ่งชี้สาเหตุการใช้และติดสารระเหยของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
กรุงเทพฯ.
ธิดารัตน์ แย้มนิ่ม. (2558). ปัจจัยทางชีวจิตสังคมที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์แห่งตนของวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
นิภาวรรณ หมีทอง. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ระณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพ: ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสต ร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ.
พนม เกตุมาน. (2556). "พัฒนาการวัยรุ่น Adolescent Development." ค้นจาก
http://teenage1519.blogspot.com/2012/07/adolescent-development.html
ยุพา พูนขำ ประกายดาว พรหมประพัฒน์ กอบกุล ไพศาลอัชพงษ์ และรณภูมิ สามัคคีคารมย์. (2553). รายงานการศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงและปัญหาสุขภาพเยาวชน . นนทบุรี: กรมอนามัย.
วลัยกรณ์ แพร่กิจธรรมชัย. (2555). ผลของการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความก้าวร้าวของวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยง.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2554). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
ศุฐินันท์ เลื่อนแป้น. (2557). การตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
สิทธิพงศ์ วงศ์วิวัฒน์. (2548). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2552). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสูบบุหรี่/ดื่มสุรา ในวัยรุ่น และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2556). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: โมเดลเชิงสาเหตุของเจตนาเชิงพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มผลลัพธ์เชิงป้องกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ริวรรณ สาระนาค. (2544). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สุขจิตร ตั้งเจริญ. (2554). ปัจจัยทางจิตสังคมและจิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว. ความสามารถในการบริหารเวลาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรับผิดชอบของนักศึกษาปริญญาตรีภาคสมทบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
สุชา จันทร์เอม. (2536). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุชา จันทร์เอม. (2539). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุชา จันทร์เอม. (2542). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช.
สุพัตรา สุภาพ. (2534). สังคมและวัฒนธรรมไทย: ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อัมพร เบญจพลพิทักษ์ (2548). จิตวิทยาเพื่อการดำรงชีวิตในพฤติกรรมเบี่ยงเบน. นนทบุรี.
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
หนังสือต่างประเทศ
Hetherington, E. M., et al. (2013). Child Development in a Life-Span Perspective. US: Psychology Press.
Jessor, R., et al. (1994). Beyond adolescence: Problem behaviour and young adult development. US: Cambridge University Press.
Keough, K. A., et al. (1999). Who's smoking, drinking, and using drugs? Time perspective as a predictor of substance use. Basic and applied social psychology, 21(2), 149-164.
Nurmi, J.-E. (1991). How do adolescents see their future? A review of the development of future orientation and planning. Developmental review, 11(1), 1-59.