The Participation of Community Security Personnel for Crime Prevention in University Town: Muang Ake Community Village, Pathum Thani Province

Main Article Content

Panchana Senakoon
Jomdet Trimek

Abstract

งานวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้รักษาความปลอดภัยในชุมชนเพื่อการป้องกันอาชญากรรม
ของเมืองมหาวิทยาลัยชุมชนหมู่บ้านเมืองเอก จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทาง
การมีส่วนร่วม ปัญหาและอุปสรรค และเพื่อเสนอแนะแนวคิดในการป้องกันอาชญากรรมของเมืองมหาวิทยาลัยโดยการมีส่วนร่วมของผู้รักษาความปลอดภัยในชุมชน การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เทศบาล เป็นตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ เจ้าหน้าที่ตำรวจมหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนจากหน่วยงานภาคเอกชน ประธานชุมชนเมืองเอก อาสาสมัครกู้ภัยเมืองเอก อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อพปร.) และนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต เป็นตัวแทนภาคประชาชน รวมทั้งหมด 15 คน


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แนวทางการมีส่วนร่วมซึ่งแบ่งรูปแบบการมีส่วนร่วมออกเป็น 4 ขั้น
ตามแนวคิดของ Cohen and Uphoff ดังนี้ (1) ไม่พบการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อป้องกันอาชญากรรมของเมืองมหาวิทยาลัย (2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการเพื่อป้องกันอาชญากรรมของเมืองมหาวิทยาลัย
โดยส่วนมากจะเป็นการประสานขอความร่วมมือ รองลงมาเป็นการสนับสนุนด้านทรัพยากร และการเข้าร่วมในการบริหารตามลำดับ (3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์เพื่อป้องกันอาชญากรรมของเมืองมหาวิทยาลัย ส่วนมากเป็นการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ทางสังคม และผลประโยชน์ส่วนบุคคลตามลำดับ แต่ไม่พบ
การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ทางด้านวัตถุ และ (4) ไม่พบการมีส่วนร่วมในการประเมินผล เพื่อป้องกันอาชญากรรมของเมืองมหาวิทยาลัย ในส่วนของปัญหาและอุปสรรค พบว่า การป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ยังขาดหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักที่มีกฎหมายรองรับ จำนวนเจ้าหน้าที่และผู้รักษาความปลอดภัยในชุมชนไม่เพียงพอต่อพื้นที่และจำนวนประชากร ยังขาดการประสานงานและการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานและกลุ่มอาสาสมัคร ส่วนประชาชนในพื้นที่ยังไม่ให้ความร่วมมือและไม่ยอมรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้รักษาความปลอดภัยในชุมชนเท่าที่ควร ตลอดจนประชาชนบางส่วนขาดความตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมมือดูแลรักษาชุมชน


จากผลการวิจัยข้างต้นจึงมีข้อเสนอแนะ ให้มีการกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ผลักดันให้มีระเบียบหรือกฎหมายรองรับอำนาจหน้าที่ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ กำหนดนโยบายร่วมกัน บูรณาการการทำงานและสร้างแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนการประเมินผลการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง เพิ่มการสื่อสาร
และสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้รักษาความปลอดภัยในชุมชนกับประชาชน สร้างความตระหนักให้คน
ในชุมชนเห็นถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วม รวมถึงสร้างแรงจูงใจโดยอาจอยู่ในรูปแบบของค่าตอบแทน
หรือรางวัลความภูมิใจ

Article Details

How to Cite
Senakoon, P., & Trimek, J. . (2021). The Participation of Community Security Personnel for Crime Prevention in University Town: Muang Ake Community Village, Pathum Thani Province. Journal of Thai Justice System, 14(3). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTJS/article/view/252480
Section
Research Articles

References

เทอดเกียรติ วงศาโรจน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายปฏิบัติการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์เพื่อการป้องกันอาชญากรรม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พงษ์ธร ธัญญสิริ. (2552). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.

ยุธิดา พาชีรัตน์ และนิพนธ์ ศศิธรเสาวภา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการจัดทำแผนงานของเทศบาลตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(1), 53-64.

วิติยา ปิดตังนาโพธิ์. (2555). รายงานผลการวิจัยโครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย ต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุมชนโดยรอบ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วีระพงษ์ บุญโญภาส, สุพัตรา แผนวิชิต และนิพนธ์ ปัญญาเลิศกิตติ. (2556). รายงานการวิจัยโครงการ การจัดการความรู้เกี่ยวกับการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). สถิติอุดมศึกษาปีการศึกษา 2561. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563, จาก http://www.mua.go.th/book.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติคดีอาญาคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ จำแนกตามประเภทความผิด รายจังหวัด พ.ศ. 2560 - 2562. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563, จาก http://statbbi.nso .go.th/staticreport/page/sector/th/09.aspx

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. (2562). รายงานการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2562 (มกราคม - มิถุนายน 2562). ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563, จาก http://www.industry.go.th /pathumthani/index.php/2016-09-06-08-07-26/2016-09-06-08-09-08

อัตถกร ธรรมศิริ. (2562). แนวทางการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.