ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมทางเพศ เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ และเพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรม ทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ประเภทโรงเรียนชายล้วน หญิงล้วน และโรงเรียนสหศึกษา จำนวน 400 คน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการวิจัย โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที่แบบเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และเป็นโรงเรียนสหศึกษา การรับรู้ข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเพศส่วนใหญ่ทราบแหล่งข้อมูลจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ
เช่น Facebook Instagram Twitter Tiktok เป็นต้น และมีความถี่การรับรู้ข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเพศ 1-3 ครั้ง/สัปดาห์ การรับรู้ความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ อยู่ในระดับมาก โดยด้านการกระทำ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการพูด อยู่ในระดับมาก และด้านการคิด อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมทางเพศด้านความหวาดกลัวในโรงเรียนในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความหวาดกลัวในครอบครัวในภาพรวม อยู่ในระดับน้อย และด้านความหวาดกลัวในสถานที่สาธารณะในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งการเปรียบเทียบระดับความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศ พบว่า นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาที่เพศ ระดับชั้น และประเภทโรงเรียนต่างกัน มีระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมทางเพศในโรงเรียน ครอบครัว และสถานที่สาธารณะต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีความถี่การรับรู้ข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเพศต่างกัน มีระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมทางเพศในโรงเรียน ครอบครัว และสถานที่สาธารณะไม่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมทางเพศของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถทำนายระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมทางเพศของนักเรียน ได้ร้อยละ 15
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารกระบวนการยุติธรรม แต่ความคิดเห็นที่ปรากฏในเนื้อหาของบทความในวารสารกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
References
Agenda. (2023). “International Women's Day” How many sexual crimes are there throughout Thailand?. https://agenda.co.th/featured/thai-sex-crime-and-criminal-itwd2023/
Akkrima Sukdee & Thanyalak Bangchada. (2022). Social factors and sexual violence in Thailand. Thammasat Journal, 41(1), 161-177.
Annop Chubamrung. (1990). Crime victims. php?/BKN/https://kukr.lib.ku.ac.th/kukres/index. php?/BKN /searchdetail/result/197614
Apiraya Nijchanphansri. (2014). Self-protection behavior from being a victim of sexual crimes of female secondary school students in Surat Thani Province [Unpublished doctoral dissertation or Unpublished master's thesis]. Thammasat University.
Ceta Worldwide Education UK School Guide 2020. (2020). Differences between all-girls, all-boys and co-educational schools. https://www.ceta.co.th/ebook/UK-2020/files/basic-html/ page62.html
Custers, K. & Bulck, Jan Van den. (2011). The relationship of dispositional and situational fear of crime with television viewing and direct experience with crime. Mass Communication and Society, 14(5), 600-619.
Dailynews. (2022). Shocking crime surges 6 times, child abuse online. https://www.dailynews.co. th/articles/1698430/
Ekkaphop Intawiwat. (1999). Factors related to violence in sexual crimes. Only prisoners convicted of rape. Thammasat University.
Garofalo, J. (1981). The fear of crime: Causes and consequences. The Journal of Criminal Law and Criminology, 72(1), 839-857.
Jutharat Ua-amnoey. (2007). Factors at risk of becoming victims of sexual crimes among Thai women. Chulalongkorn University Press.
Jutharat Ua-amnoey. (2008). Sociology of crime. Chulalongkorn University Press.
Lapassarada Palaphinyo. (2001). The role of police officers in controlling and preventing social problems in entertainment venues [Unpublished doctoral dissertation or Unpublished master's thesis]. Chiang Mai University.
Mark, W. (1984). Fear of victimization: Why are women and the elderly more afraid. Social Science Quarterly, 65(3), 681-702.
Nisaphon Raksatham. (2016). Fear of sexual crimes among women traveling in cars [Unpublished doctoral dissertation or Unpublished master's thesis]. National Institute of Development Administration.
Parinya Jitkarnateekit. (1996). Offenses of rape and indecency. (2nd edition). Niti Tham Publishing House.
Prapon Sahapatthana et al. (2013). Report of the complete results of the study of the efficiency evaluation project. Police stations and public confidence in police operations for fiscal year 2013. National Institute of Development Administration.
Surachai Woranethipho. (2013). Causes of being a victim of rape in children: Study of specific districts in the area under responsibility of the Special Prosecutor's Office, Juvenile and Family Cases Division 5 [Unpublished doctoral dissertation or Unpublished master's thesis]. Rangsit University.
Thairath. (2020, December 8). Statistics of 7 years of sexual harassment of students. Teachers have no right to make mistakes. https://www.thairath.co.th/scoop/1988528