ปัญหาหน้าที่อำนาจตามกฎหมาย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรป่าไม้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อจำกัดทางกฎหมายในการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ศึกษาหน้าที่อำนาจตามกฎหมายในการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (3) ศึกษาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อกระจายอำนาจในการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรป่าไม้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
ผลการวิจัย พบว่า พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 และมาตรา 17 มิได้กระจายอำนาจเพื่อรับรองหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรป่าไม้ไว้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้การขับเคลื่อนงานควบคุมและป้องกันอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรป่าไม้ไม่อาจกระทำได้ ซึ่งในบริบทกฎหมายของเครือรัฐออสเตรเลีย โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1999 ได้รับรองอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการป้องกันและลงโทษบุคคลที่สร้างผลกระทบในทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งอยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกฎหมายของสหรัฐอเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยรัฐบัญญัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ค.ศ. 1976 ก็ได้รับรองอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับรัฐบาลแห่งมลรัฐเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำละเมิดบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมภายใต้หลักการรับผิดชอบต่อชุมชนท้องถิ่นได้ ดังนั้น จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 และมาตรา 17 เพื่อรับรองการกระจายอำนาจในการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรป่าไม้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารกระบวนการยุติธรรม แต่ความคิดเห็นที่ปรากฏในเนื้อหาของบทความในวารสารกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
References
Dawnapa Kettong. (2020). Decentralization to local government organization. Journal of MCU Phetchaburi Review, 3(6), 46–57.
Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. (2024). Participated in the signing ceremony of the MOU on solving wildfire problems, wildlife, and developing publicutilities. [Online] https://portal.dnp.go.th/Content/WildlifeConserve?ContentId= 37238
Department of the Environment Water Heritage and the Arts. (2009). Local government and Australian environment law. [Online] https://www.agriculture.gov.au/sites/default/file s/documents/ecosystem-services.pdf
Forest Resource Management Office No. 4. (2021). Memorandum of cooperation to promote and support decentralization operations Natural resources and environment. [Online] https://www.forest.go.th/saraburi5/wpcontent/uploads/sites/19/2021/04/img20210409_11191062.pdf
Greenpeace. (n.d.). What's happening in the Indonesian forests?. [Online] https://www. greenpeace.org/thailand/explore/protect/forests/indonesia-rainforest/
Heywood A. (2002). Politics (2nd ed.). New York: Palgrave Macmillan.
Kowit Phuangngam. (2007). Local government in Thailand. Bangkok: Expertnet.
Montha Prapannetivuth, Prakob Prapannetivuth, and Sa-ade Hommanee. (2019).
Environmental Crime. Sripatum Academic Journal, Chonburi, 15(3), 25-32.
Nakarin Mektrairat, (n.d.). local government organization. [Online] http://wiki.kpi.ac.th/index. php?title=%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99
Nanrapat Chaiakaraphong. (2020). Green Criminology and Wildlife Trafficking in Thailand. Journal of Social Sciences, 50(1), 80-102.
Napajaree Jiwananthaprawat, (2014). local government Democracy within the reach of the people. Office of the Constitutional Court.
Pamela, C. (1986). An assessment of the role of local Government in environment regulation. UCLA Journal of Environmental Law and Policy, 5(2), 145-148.
Phahon Sakkatat & Nuenghathai Tantisantisom. (2007). Role of local governance organizations in natural resources and environmental conservation. Kamphaeng Saen Journal, 5(3), 71-72.
Pimpron Netpukkhana. (2018). A green criminology. [Online] http://www.nathee-chitsawang .com/อาชญาวิทยาสีเขียว-a-green-criminology
Post to Day. (2023). Indonesia reveals forest destruction figures. [Online] https://www.post today.com/international-news/696377
Royal Forest Department. (2022). Project to prepare information on the condition of forest areas in the year 2022. Ministry of Natural Resources and Environment.
Somkid Lertpaitoon. (2006). Local administrative law. Bangkok: Publisher cabinet.
Foundation (2020). Forest situation 2565 [Online] https://www.seub.or.th/document/%E0% B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A 3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B 8%B2%E0%B9%84%E0 %B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/2023-235/
Thanisa Tanticharoen. (2014). Environmental crimes (transnational) The solution is not just Law ennforcement. [Online] http://oknation.nationtv.tv/blog/LittleLee/2014/09/24/en try-1.
Thanisa Tanticharoen. (2014). Environmental crime (transnational) The solution is not just law enforcement. [Online] http://oknation.nationtv.tv/blog/LittleLee/2014/09/24/entry-1
Robson, W. A. (1966). Local Government in crisis. Routledge Revivals.