กรอบแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์การ: การบูรณาการแนวคิดทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์การและองค์การแห่งการเรียนรู้

Main Article Content

พยัต วุฒิรงค์

Abstract

นวัตกรรมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน แต่การสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์การให้เกิดขึ้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญหลายปัจจัย การสร้างคุณค่าเพิ่มของการศึกษาครั้งนี้คือ การพัฒนาตัวแปรเพื่อทำความเข้าใจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยใช้แนวคิดจากหลายมุมมองคือ แนวคิดมุมมองด้านทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์การ (RBV) และแนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) ซึ่งจะทำให้องค์การเข้าใจการสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้า นวัตกรรมกระบวนการและนวัตกรรมเชิงพฤติกรรม ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีมุมมองเชิงทฤษฎีที่อธิบายปรากฎการณ์ดังกล่าวในการศึกษาครั้งเดียว ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรหลักที่ควรนำมาศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมคือ  ปัจจัยลักษณะสภาพแวดล้อมขององค์การประกอบด้วย 5 ปัจจัยย่อย ปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย 4 ปัจจัยย่อย และปัจจัยด้านการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ประกอบด้วย 4 ปัจจัยย่อย ผลการศึกษาครั้งนี้ช่วยให้องค์การที่ต้องการสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ตระหนักถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและพัฒนาเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมถึงเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์การเพื่อนำไปสู่การสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศไทยต่อไป

Article Details

How to Cite
วุฒิรงค์ พ. (2014). กรอบแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์การ: การบูรณาการแนวคิดทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์การและองค์การแห่งการเรียนรู้. NIDA Development Journal, 54(1), 21–48. https://doi.org/10.14456/ndj.2014.14
Section
Articles