การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับความอยู่ดีกินดีของคนไทย
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากรที่คาดกว่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ว่ามีผลกระทบต่อความอยู่ดีกินของคนไทยอย่างไร โดยใช้การบริโภคต่อหัวเป็นตัวแทนอย่างง่ายในการวัดความอยู่ดีกินดี บทความนี้ประยุกต์ตัวแบบการเจริญเติบโตของแรมซีย์เข้ากับตัวแปรที่บ่งชี้ถึงโครงสร้างประชากร และทำการจำลองเหตุการณ์ ระหว่าง พ.ศ. 2553 – 2643 ผลการศึกษาพบว่าหากให้ พ.ศ. 2553 เป็นปีฐาน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจะทำให้การบริโภคต่อหัวเพิ่มมากกว่าปีฐานเล็กน้อยในช่วง พ.ศ. 2555 - 2571 แต่จะลดลงต่ำกว่าปีฐานในระยะยาว โดยเมื่อถึง พ.ศ. 2643 การบริโภคต่อหัวจะลดลงต่ำกว่าปีฐานร้อยละ18 - 26 จากการทดลองขยายอายุเกษียณการทำงานจากเดิม 60 ปี เป็น 65 ปี การบริโภคต่อหัวใน พ.ศ. 2643 จะลดลงร้อยละ 16 ซึ่งลดน้อยกว่ากรณีเกษียณเมื่ออายุ 60 ปีที่ใช้สมมติฐานเดียวกันร้อยละ 10 ดังนั้นการขยายอายุเกษียณการทำงานจะสามารถชดเชยผลกระทบได้บางส่วน บทความนี้แสดงให้เห็นว่าหากครัวเรือนกลัวความเสี่ยงมาก ครัวเรือนจะปรับตัวโดยการออมมากขึ้น เพื่อให้การบริโภคในแต่ละช่วงเวลาไม่แตกต่างกันมากนัก ดังนั้นแรงงานนอกระบบซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมาก เพราะไม่มีหลักประกันรายได้ในวัยเกษียณ รัฐควรสนับสนุนให้แรงงานนอกระบบตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว และส่งเสริมให้ออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อให้มีเงินบำนาญสำหรับการดำรงชีวิตในวัยชรา
Article Details
How to Cite
วัฒนเสาวลักษณ์ ก. (2014). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับความอยู่ดีกินดีของคนไทย. NIDA Development Journal, 54(1), 143–170. https://doi.org/10.14456/ndj.2014.10
Section
Articles