ความเครียดในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ

Main Article Content

เจษฎา คูงามมาก
พาชิตชนัต ศิริพานิช

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดในการทำงาน และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับองค์การที่มีผลต่อความเครียดในการทำงาน โดยมีประชากรเป้าหมายคือ อาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐส่วนกลาง (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล) เฉพาะมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐและมหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้น การสำรวจด้วยตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ใช้แผนการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิหลายขั้น (Multi-Stage Stratified Random Sampling) ข้อมูลสำหรับการศึกษาเป็นข้อมูลจากตัวอย่างขนาด 326 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ สถิติที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA)

ผลการศึกษาพบว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐส่วนใหญ่มีความเครียดในการทำงานในระดับต่ำถึงปานกลาง ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับองค์การที่มีผลต่อความเครียดในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐเป็นอันดับแรก คือ การประกันคุณภาพการศึกษา รองลงมาคือ ค่าตอบแทน และภาระงานทางวิชาการ ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของอาจารย์จากมหาวิทยาลัยของรัฐเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษามีผลต่อความเครียดในการทำงาน มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของอาจารย์จากมหาวิทยาลัยของรัฐเกี่ยวกับค่าตอบแทนมีผลต่อความเครียดในการทำงาน มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับภาระงานทางวิชาการมีผลต่อความเครียดในการทำงาน พบว่า อาจารย์จากมหาวิทยาลัยรัฐทั้งสองประเภทต่างมีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
คูงามมาก เ., & ศิริพานิช พ. (2014). ความเครียดในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ. NIDA Development Journal, 54(1), 259–285. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/17683
Section
Articles