ทัศนคติที่มีต่อกระบวนการทำงานอัตโนมัติ

Main Article Content

น้ำทิพย์ วงศ์สมบูรณ์
สุเทพ ทองงาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยทัศนคติที่มีต่อกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อกระบวนการทำงานอัตโนมัติ (RPA) 2) เพื่อศึกษาแบบจำลองสมการโครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติที่มีต่อกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ 3)เพื่อศึกษาอิทธิพลของเส้นทางการปรับตัวการเห็นคุณค่าในตนเองและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความได้เปรียบการแข่งขันและทัศนคติต่อกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ


ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณใช้ระเบียบวิธีวิจัยในเชิงพรรณนาและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลใช้กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรที่รู้จักการใช้งานกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ รวมจำนวน 300 กลุ่มตัวอย่าง ทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ ตามแนวคิดของครอนบัค (Cronbach Alpha) ผลทดสอบความน่าเชื่อถือเครื่องมือที่ 0.975 และได้ผลการทดสอบค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.938 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การแจกแจงความถี่ของข้อมูลด้วยความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยทางเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าแปรปรวน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรปรวน (CV) วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานใช้สถิติในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน(CFA) และวิเคราะห์สมการโครงสร้าง(SEM) ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ


ผลวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างทัศนคติที่มีต่อกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi – Square =99.640, df = 91.0,Sig. 0.251 > 0.05,CMIN/df. 1.099 < 2.0, CFI 0.998, GFI 0.966, AGFI 0.929, RMSEA 0.018, NFI 0.980, IFI 0.998,RMR 0.011) ผลวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ สูงสุด ด้านความได้เปรียบการแข่งขัน รองลงมา ด้านคุณลักษณะการปฏิบัติงาน ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง ด้านการปรับตัว และด้านประสิทธิภาพกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ ตามลำดับ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติสูงสุด ด้านคุณลักษณะการปฏิบัติงาน รองลงมา ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง ด้านการปรับตัว และด้านความได้เปรียบการแข่งขัน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบการแข่งขัน สูงสุด ด้านคุณลักษณะการปฏิบัติงาน รองลงมา ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง และด้านการปรับตัว นอกจากนี้ด้านการเห็นคุณค่าในตนเองมีอิทธิพลต่อด้านคุณลักษณะการปฏิบัติงาน และด้านการปรับตัว มีอิทธิพลต่อด้านคุณลักษณะการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
วงศ์สมบูรณ์ น., & ทองงาม ส. (2024). ทัศนคติที่มีต่อกระบวนการทำงานอัตโนมัติ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 59(4), 97–121. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/264664
บท
Articles

References

Bollen, K.A. (1989). Structural equations with latent variables. New York: John Wiley & Sons.

Bruno, J., Johnson, S., & Hesley, J. (2017). Robotic Disruption and the New Revenue Cycle: Robotic Process Automation Represents an Immediate New Opportunity for Healthcare Organizations to Perform Repetitive, Ongoing Revenue Cycle Processes More Efficiently and Accurately. Healthcare Financial Management, 71(9), 5561. Retrieved August 12, 2019

Camarero, C., Anton, C., & Rodríguez, J. (2013). Technological and ethical actecedents of e–book piracy and price acceptance. Journal of the Electronic Library, 32(4), p. 542–566.

Chananthon Sornurak and Sirinuj Loykulnan (2020). Evaluation of Competitive Advantage from Application of automation software in commercial banking business : a case study of ABC Bank Operations. national academic conference Management, 12, 732-743.

Chanon Komonmal. (2008). The use of the Rubin's Self Esteem Scale test in practice. Social work: a study of the cases of those receiving protection in protection and occupational development centers. Kredtrakan House (Master's thesis). Thammasat University, Faculty of Social Work.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J.A. (2000). Introduction to LISREL: A guide for the uninitiated. London: SAGE Publications, Inc.

Hair, J. F. J., Anderson, R. E., Tatham, R. L., Black, W. C., (2010). Multivariate Data Analysis (Sixth ed.), Upper Saddle River, New Jersey, Prentice Hall.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E., (2010). Multivariate data analysis: A global perspectives. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education, International.

Jorge, R., Rui, L., Tiago , T., & Sara, P. (2021). Robotic Process Automation and Artificial Intelligence in Industry 4.0 - A Literature review. Procedia Computer Science, 2021: 51:58.

Kasem Chalermthanakijkosol. (2000). Adjustment in the work of employees of mobile phone service companies. Master of Science Thesis. Industrial Psychology. Bangkok:

Nattawut Pongsiri. (2018, August 26). Office Automation System. Thansettakij, 26-27. Retrieved October 10, 2021, from http://www.thansettakij.com/content/308970

Rogers, C. R., & Wood, J. K. (1974). Client-Centered Theory Carl Rogers. In A. Burton (Ed.), Operational Theories of Personality (pp. 211-258)

Singha Chaweesuk and Sunanta Wongchaturapat (2012), Theory of Information Technology Acceptance. Ladkrabang Information Technology Journal, 1(1).

Thanit Sorat. 2006. Knowledge of logistics. Bangkok: Proud Press (2002).

Thongchai Santiwong. (1990). Personnel management. Bangkok: Thai Wattana Panich.

Wilaiporn Taweelappanthong. (2017). Moving forward with automation to cope with the digital labor market. Retrieved August 10, 2021, from https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20171130.html.

Yaowapa Chupraphawan. (2004). Acceptance of new innovations. Bangkok: Odeon Store.