ปัจจัยกำหนดรูปแบบองค์การภาครัฐสมัยใหม่ Determinants of Modern Public Organizational Design

Main Article Content

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญสองประการ คือ 1) เพื่อนำเสนอผลการศึกษา รูปแบบองค์การภาครัฐของประเทศไทยในปัจจุบัน และ 2) เพื่อเสนอผลการทดสอบปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์ต่อรูปแบบองค์การภาครัฐ โดยกรอบแนวคิดในการศึกษาได้ประยุกต์จากทฤษฎี โครงสร้างตามสถานการณ์ของมอร์แกน (Morgan’s Structural Contingency Theory) โดยได้กำหนดสมมติฐานในการวิจัยว่า สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี ลักษณะของคน การจัดการ และอายุมีความสัมพันธ์กับรูปแบบองค์การ ระเบียบวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิง ปริมาณผสมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ในเชิงลึก และเอกสาร อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประชากรในการศึกษาครอบคลุมองค์การภาครัฐฝ่ายบริหารในส่วนกลาง ได้แก่ ส่วนราชการ หน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit – SDU) องค์การ มหาชน หน่วยงานในกำกับของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทมหาชนจำกัด การทดสอบ สมมติฐานใช้เทคนิคการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ( Discriminant Analysis) บทความนี้ได้เสนอหลักเกณฑ์ระดับความเป็นอิสระ (Autonomy) ขององค์การเพื่อ ใช้แบ่งประเภทขององค์การในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ศักดิ์ของกฎหมายในการจัดตั้งองค์การ ระดับการบังคับบัญชา สถานภาพการเป็นส่วนราชการ สถานภาพการเป็นนิติบุคคล และ ความอิสระในการจัดการงบประมาณ บุคลากรและการบริหารอื่น ๆ เมื่อนำเกณฑ์ดังกล่าว มาใช้ในการแบ่งกลุ่มองค์การตามระดับความเป็นอิสระแล้ว สามารถแบ่งรูปแบบองค์การได้ เป็นสามประเภท คือ ส่วนราชการ องค์การรูปแบบพิเศษ (รวมหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ องค์การมหาชน หน่วยงานในกำกับของรัฐ) และรัฐวิสาหกิจ (รวมบริษัทมหาชนจำกัด) สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่ารูปแบบองค์การภาครัฐทั้งสามแบบไม่มีความสอดคล้องกับ สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี และลักษณะของคน ซึ่งตามทฤษฎีได้กล่าวว่าหากปัจจัย เหล่านั้นไม่มีความสัมพันธ์กันกับรูปแบบองค์การ ประสิทธิผลการทำงานขององค์การก็ยาก ที่จะเกิดขึ้นได้ ผลการศึกษายังพบว่ามีอายุขององค์การเพียงปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์กับ รูปแบบองค์การ ซึ่งแสดงว่าองค์การที่จัดตั้งมานานจะมีรูปแบบองค์การเป็นแบบราชการ แต่ หากองค์การที่จัดตั้งขึ้นใหม่จะมีรูปแบบองค์การที่มีความอิสระคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งมีนัยที่สำคัญ คือ องค์การภาครัฐที่จัดตั้งมานานอาจยังไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์การให้เหมาะสม บทความนี้ยังได้เสนอปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบองค์การภาครัฐ รวมทั้งข้อเสนอแนะในเชิง นโยบายและการวิจัยในอนาคต

Article Details

Section
Articles