กระบวนทัศน์ใหม่ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับปัญหาด้านประสิทธิภาพ ในการจัดสรรและการกระจายผลประโยชน์ของรายจ่ายสาธารณะ ของประเทศไทย

Main Article Content

พลภัทร บุราคม

Abstract

จุดประสงค์ของบทความ ก็เพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เสนอโดย  Endogenous Growth Theory  Endogenous Growth เป็นแนวความคิดที่พยายามขยายแนวความคิดของ Solow – Type Neoclassical Growth Model ออกมาให้ครอบคลุมปัจจัยด้านทุนมนุษย์  โดยพยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยเหล่านี้ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว  Endogenous Growth ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาทุนมนุษย์จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมในทางที่เป็นประโยชน์ (positive externalities)  โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Spill – over effects and learning – by doing  effects  ซึ่งผลดีต่อสังคมนี้จะมีมากจนกระทั่งลบล้างผลเสียของกฎการลดน้อยถอยลงของผลผลิตส่วนเพิ่ม (Diminishing Returns)  ในตัวแบบของ Solow ลงได้  และทำให้ประเทศมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

ถึงแม้งานวิจัยต่าง ๆ ในปัจจุบันจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการลงทุนในทุนมนุษย์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนประเทศไทยจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนักในการพัฒนาทุนมนุษย์  ถึงแม้รัฐบาลไทยจะจัดสรรทรัพยากรเป็นจำนวนมากให้กับการศึกษา  แต่ผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของคนไทยก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ  และความไม่เท่าเทียมกันในโอกาสทางการศึกษาระหว่างคนรวยและคนจนก็ยังมีอยู่สูง การที่ทุนมนุษย์ของประเทศไทยไม่ค่อยมีการพัฒนาเท่าที่ควรนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากบทบาทของภาคเอกชนและภาคประชาชนในการจัดการศึกษายังมีน้อย ส่งผลให้ภาระการจัดการศึกษาส่วนใหญ่ตกอยู่กับภาครัฐ ตลอดจนความไม่เสมอภาคและการขาดประสิทธิภาพในการจัดสรรและการกระจายผลประโยชน์ของรายจ่ายสาธารณะด้านการศึกษาของไทยซึ่งยังไม่ดีนัก

Article Details

How to Cite
บุราคม พ. (2012). กระบวนทัศน์ใหม่ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับปัญหาด้านประสิทธิภาพ ในการจัดสรรและการกระจายผลประโยชน์ของรายจ่ายสาธารณะ ของประเทศไทย. NIDA Development Journal, 46(2-4), 19–57. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/2683
Section
Articles