ประเทศไทยกับการเปิดเสรีภาคการเงินระหว่างประเทศ

Main Article Content

สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข
วิศิษฎ์ ชัยศรีสวัสดิ์สุข

Abstract

แม้ว่าหลักฐานทางสถิติที่จะแสดงถึงการเปิดเสรีทางการเงินของไทยจะยังไม่ชัดเจนนัก นโยบายการเปิดเสรีทางการเงินของภาครัฐโดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดซึ่งจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของบทบาทของภาคการเงินระหว่างประเทศ ในขณะที่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากความไม่สอดคล้องของการดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการเงินกลับทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง และกว้างขวาง การเคลื่อนย้ายของเงินทุนอย่างเสรีจึงไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ การศึกษาถึงผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการเงินต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการเจริญเติบโตของภาคเศรษฐกิจต่างๆ พบว่ามีผลกระทบน้อย ดังนั้น บทบาทของภาครัฐในการเปิดเสรีทางการเงินควรจะได้คำนึงถึงผลประโยชน์ในแง่การเพิ่มสวัสดิการสังคมในรูปของการเพิ่มคุณภาพและปริมาณการให้บริการทางการเงินในต้นทุนที่ต่ำ ประสิทธิภาพในการจัดสรรปัจจัยทุนซึ่งเป็นปัจจัยที่ขาดแคลนของประเทศ และประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ ควบคู่ไปกับต้นทุนที่สูงขึ้นจากความผันผวนที่สูงขึ้นโดยให้ความระมัดระวังกับความสอดคล้องของการดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน

Article Details

How to Cite
ชัยศรีสวัสดิ์สุข ส., & ชัยศรีสวัสดิ์สุข ว. (2012). ประเทศไทยกับการเปิดเสรีภาคการเงินระหว่างประเทศ. NIDA Development Journal, 46(2-4), 59–78. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/2684
Section
Articles