จากวิกฤติเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2540 ถึงวิกฤติเศรษฐกิจโลก พ.ศ 2551 : การศึกการเปรียบเทียบความแตกต่างและผลกระทบต่อประเทศไทยในแง่มุมของเศรษฐกิจ ธุรกิจ และบรรษัทภิบาล

Main Article Content

Seksak Jumreornwong

Abstract

การวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวิกฤตเศรษฐกิจไทย (พ.ศ. 2540) และวิกฤตเศรษฐกิจโลก (พ.ศ. 2551) ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจไทย ทั้งภาคเศรษฐกิจจริง และภาคการเงิน จากการศึกษาเปรียบเทียบภาพรวม พบว่า วิกฤต พ.ศ. 2540 ในประเทศไทยมีภาวะก่อน (preconditions) หลายปัจจัย ได้แก่ การใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งเกินความเป็นจริง ผลผลิตที่ตกต่ำ ความสามารถในการแข่งขันและการส่งออกที่ตกต่ำ มีการเก็งกำไรมาก ทั้งในตลาดหุ้นและที่ดิน และไม่มีกลไกบรรษัทภิบาลที่ดีในการกำกับดูแลธุรกิจทั้งภาคเศรษฐกิจจริงและภาคการเงิน ส่วนวิกฤตเศรษฐกิจโลก พ.ศ. 2551 ได้มีผลกระทบกับประเทศไทยในระยะเวลาสั้น เศรษฐกิจและธุรกิจไทยกลับมาเข้มแข็งในปีถัดมา การศึกษา พบว่า ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบๆ ปี พ.ศ. 2551 กลไกของบรรษัทภิบาลมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลประกอบการและศักยภาพของธุรกิจ ธุรกิจที่มีบรรษัทภิบาลเข้มแข็งจะมีผลประกอบการและศักยภาพที่ดี อีกทั้งความเสี่ยงที่ค่อนข้างต่ำ การศึกษานี้ได้พบว่า ในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก บริษัทที่อยู่ในกลุ่มของบริษัทที่มีความเข้มข้นของบรรษัทภิบาลมีสถานะทางการเงิน (Financial Status) ดีกว่าบริษัทที่ไม่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว ดังนั้นบรรษัทภิบาลจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ธุรกิจเข้มแข็งและอยู่รอดได้ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่มีความตึงเครียดทางการเงิน (Financial Distress)การพัฒนาการกำกับดูแลกิจการหรือบรรษัทภิบาลจึงถือได้ว่าเป็นการปฏิรูปทางการเงิน (Financial Reform) ที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 ทำให้ธุรกิจและเศรษฐกิจไทยมีภูมิคุ้มกันวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตามมา ที่สำคัญดังเช่นในปี พ.ศ. 2551

 

From ‘Thai economic crisis’ of 1997 to ‘ Global economic crisis’ of 2008 : The Comparative study of their differences and impacts on Thailand in the aspects of economy, business and corporate governance

This study compares and contrasts the Asian Financial Crisis (1997) and the Global Financial Crisis (2008) in the perspective of their effects on Thai economy and businesses. The study finds that, in macro view, the preconditions of 1997 crisis include the fixed exchange rate which overvalued Thai baht, poor productivity, low export, overspeculation in stock and real estate, and poor corporate governance in both real business sector and financial sector. The Global Financial Crisis or Subprime Crisis had little impact on Thai economy and business. This study finds that, in the years around 2008 Crisis, Corporate Governance has positive and significant relationship with firm’s performance and viability. Firms with strong corporate governance perform better than those with poor corporate governance. Moreover, risk seems to be lower for firms with good governance. In particular, in the year of Global Financial Crisis 2008, companies in the strong corporate governance group outperform those not in the group. Therefore, corporate governance is an important factor that strengthens business viability and makes firms survive in the year of Crisis and Financial Distress. The development of corporate governance in Thailand is therefore the significant ‘Financial Reform’ in Thai economy. The reform has resulted in the strong hedge against the crises that follow.

Article Details

How to Cite
Jumreornwong, S. (2014). จากวิกฤติเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2540 ถึงวิกฤติเศรษฐกิจโลก พ.ศ 2551 : การศึกการเปรียบเทียบความแตกต่างและผลกระทบต่อประเทศไทยในแง่มุมของเศรษฐกิจ ธุรกิจ และบรรษัทภิบาล. NIDA Development Journal, 55(1), 236–266. https://doi.org/10.14456/ndj.2015.12
Section
Articles