A Case Against Social Capital: The Danger of Misplaced Emphasis on Community- Driven Development (CDD) in Poverty Reduction Policy กรณีโต้แย้งทุนทางสังคม:อันตรายจากการให้น้ำหนักผิดที่ต่อการพัฒนาทิ่เน้นชุมชนป็นตัวขับเคลื่อนในนโยบายแก้ไขความยากจน
Main Article Content
Abstract
ทุนทางสังคม อาจมองได้ว่าเป็นทรัพยากรทางการพัฒนาประเภทหนึ่งซึ่งอาจนำมาใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่รวดเร็วและมีความยั่งยืนในท้องที่หนึ่ง เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเงื่อนไขสำคัญชองทุนทางสังคม นโยบายด้านความยากจนหลายอย่างจึงได้ใช้วิธีการที่เน้นการพัฒนาโดยเน้นชุมชนเป็นพลังขับเคลื่อน (Community-Driven Development หรือ CDD)เป็นหนทางในการสร้างการพัฒนาขึ้นในท้องที่นั้น แต่การพัฒนาวิธีนี้ก็มิใช่ปราศจากปัญหาเสียเลยทีเดียว ชุมชนนั้นอาจจะละเลยหรือมองข้ามความต้องการของชาวบ้านที่จนที่สุดของชุมชนนั้นไป หรือความสนใจเฉพาะหน้าของชาวบ้านส่วนใหญ่นั้น คือ การเอาเวลาไปทำมาหากินเพื่อให้มีชีวิตรอดไปวันๆ มากกว่าการจะมีเวลาไปทำกิจกรรมของชุมชนหรือความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ของชุมชนอาจมีมากจนกระทั่งเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างความเท่าเทียมกันของประโยชน์จากการพัฒนาให้แก่ชุมชนนั้น ประสบการณ์การทำงานของโครงการกองทุนการลงทุนเพื่อสังคม (Social Investment Fund หรือ SIF ) ซึ่งรัฐบาลไทยได้นำมาใช้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 โดยการกู้ยืมเงินจากธนาคารโลก เป็นตัวอย่างที่ดีของอันตรายที่อาจเกิดจากการพัฒนาที่เน้นชุมชนเป็นพลังขับเคลื่อน โดยความตั้งใจดั้งเดิมนั้น กองทุนนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยชุมชนเท่านั้น ไม่ใช่บุคคลหรือครอบครัวในภาวะวิกฤต แต่สภาพที่เป็นจริงคือบุคคลและครอบครัววิกฤต ไม่ใช่ชุมชน เวลาอันมีค่าต้องเสียไปกับการเน้นย้ำว่าชุมชนเท่านั้นจะเป์นผู้ได้ประโยชน์จากกองทุนดังกล่าว ไม่ใช่บุคคลหรือครอบครัว จนในที่สุดทางการต้องเปลี่ยนกฎเกณฑ์การให้ทุนที่ประโยชน์ตกอยู่กับบุคคลและครอบครัวที่เดือดร้อนโครงการจึงเริ่มทำงานได้ แสดงว่าทุนทางสังคมนี้จะมีประสิทธิผลจริงๆก็ต่อเมื่อความยากจนในสภาพที่เลวร้ายที่สุดได้ถูกกำจัดให้หมดสิ้นไปแล้ว และในชุมชนนั้นมีความเท่าเทียมของการกระจายรายได้อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะทำให้ความขัดแย้งและปัญหาที่อาจเกิดจากการ แบ่งปันผลประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียมกันไม่เกิดขึ้นได้