การศึกษาความพยายามในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของหน่วยจัดเก็บสำนักงานสรรพากรภาค 5 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 – 2548

Main Article Content

วราพรรณ ตั้งวานิชกพงษ์

Abstract

   วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ เพื่อสร้างดัชนีความพยายามในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ  ศึกษาเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้จากสำนักงานสรรพากรภาค 5 ระหว่างปีงบประมาณ 2544-2548  ทำการวิเคราะห์หาค่าความสามารถในการเสียภาษี ด้วยวิธีสมการถดถอยพหุคูณ โดยกำหนดสมการให้ความสามารถในการเสียภาษีของแต่ละจังหวัดขึ้นอยู่กับรายได้จังหวัดในสาขาอุตสาหกรรม  สาขาการบริการ  และผลจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มปีที่ผ่านมา และหาค่าดัชนีความพยายามในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม  ค่าดัชนีที่ได้จึงเป็นเกณฑ์ที่จะชี้วัดว่าเจ้าหน้าที่มีระดับความพยายามในการจัดเก็บภาษีเป็นเช่นใดเมื่อเทียบกับค่าความสามารถ

    ผลการศึกษาปรากฏว่า  ค่าความสามารถในการจัดเก็บภาษีของจังหวัดต่างๆ ในสำนักงานสรรพากรภาค 5 ขึ้นอยู่กับรายได้จากสาขาอุตสาหกรรม  สาขาบริการ และผลจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในปีที่ผ่านมาโดยมีความสัมพันธ์ทางเดียวกัน  จังหวัดที่มีค่าความสามารถอยู่ในเกณฑ์สูงในภาค 5 คือ จังหวัดชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก  ส่วนจังหวัดที่มีค่าความสามารถอยู่ในเกณฑ์ต่ำ คือ จังหวัดจันทบุรี สระแก้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดที่เอื้อให้เกิดรายได้ สำหรับค่าดัชนีความพยายามในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม พบว่าจังหวัดที่มีค่าความพยายามสูงที่สุดคือ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดที่มีค่าความพยายามต่ำที่สุดคือจังหวัดสระแก้ว  ซึ่งจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ เพื่อนำไปสู่ผลจัดเก็บที่เพิ่มมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ตั้งวานิชกพงษ์ ว. (2012). การศึกษาความพยายามในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของหน่วยจัดเก็บสำนักงานสรรพากรภาค 5 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 – 2548. NIDA Development Journal, 48(1), 1–25. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/2804
Section
Articles