The Effects of Consciousness-Raising Instruction on EFL Learners’ Listening Achievement through Innovative Computer-Assisted Instruction

Main Article Content

Amporn Sa-ngiamwibool

Abstract

   งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการผสานทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษกับ English Discoveries Program ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยการพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษ  โปรแกรมดังกล่าวนี้เป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในห้องเรียนและเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของผู้เรียน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกฝนด้านการฟัง  เนื่องจากการฟังภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่ยากสำหรับผู้เรียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน  นักทฤษฏีและนักวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในฐานะที่เป็นภาษาที่สอง (Second Language Acquisition หรือ SLA)ได้เสนอว่า   การสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้  (Conciousness-Raising หรือ C-R)  ในระดับการของการสังเกต (Noticing)  อันเป็นพื้นฐานนำไปสู่การการได้มาซึ่งทักษะทางภาษา การผสานระหว่างทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยการพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษเป็นประเด็นที่งานวิจัยต้องการจะศึกษาเพื่อหาคำตอบ  โดยกำหนดวัตถุประสงค์หลักในการศึกษา คือ เพื่อให้ทราบผลของแบบเรียนที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้  (Conciousness-Raising หรือ C-R)  และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยการพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษ  กับ English Discoveries Program  ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการฟังของผู้เรียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง    และกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะในการศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับทฤษฏีการตระหนักรู้ว่ามีผลต่อการพัฒนาทักษะการฟัง  ซึ่งประกอบด้วย (1) แบบเรียนที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้โดยมีคำสั่งหรือเครื่องหมายเกี่ยวกับคำสำคัญ (Conciousness-Raising Instruction หรือ CRI)  (2) การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยการพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษ English Discoveries Program   ( Computer-Assisted Instruction หรือ CAI)   (3)  การกำหนดเวลา (Time  Constraints)  (4)   ภาระในการรับรู้ตามเงื่อนไขของแบบเรียน CRIและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Cognitive Load)  และ  (5)  ความยากของแบบเรียน CRIและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์  งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบกึ่งทดลองที่มีการทดสอบก่อนและหลังการเรียน  เนื้อหาที่ใช้ในการฝึกฝนมีความหลากหลาย ประกอบด้วย ธุรกิจ ครอบครัว โฆษณา โทรศัพท์ ละคร ดนตรี ข่าว การตอบคำถาม เรื่องลึกลับ กีฬา พยากรณ์อากาศ และการท่องเที่ยว  สถิติพรรณนาที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์   คือ  ANCOVA  ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองที่ใช้แบบเรียนที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ควบคู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์  (CRI และ CAI) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้เฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และ กลุ่มควบคุมทั้งในการทดสอบด้วย English Discoveries Program และข้อสอบ TOEIC (Test of English as International Communication)

Article Details

Section
Articles