POLITICAL DISCORUSE: THE POLITICS OF THAI POVERTY วาทกรรมการเมือง : การเมืองเรื่องความยากจนในสังคมไทย

Main Article Content

Nipa Geerapatr

Abstract

   งานศึกษาชิ้นนี้ เน้นที่คำว่า  ความยากจน  ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นและผลิตซ้ำในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน  เป้าหมายของการศึกษาอยู่ที่การเปิดเผยให้เห็นว่านิยามความหมายของคำว่าความยากจนนั้นมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยทั้งในส่วนของโครงสร้างสังคมและในส่วนของชุดความคิดที่ครอบงำคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยอย่างไร  นิยามความหมายดังกล่าวมีกลไกอะไรที่ทำให้คนส่วนใหญ่เหล่านั้นยอมรับอัตตลักษณ์ของความเป็นคนจนภายใต้ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน และยอมรับการถูกเอารัดเอาเปรียบในรูปแบบต่างๆ โดยคนส่วนน้อยที่มีอำนาจในสังคม

    ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวมรวมจากวาทกรรมความจน ของอดีตนายกทักษิณ ชิณวัตร ในรายการนายกทักษิณพบประชาชน ตั้งแต่ปี 2001-2005 โดยศึกษาจาก คำพูดที่ถูกถอดเทปและตีพิมพ์เป็นหนังสือจำนวน 9 เล่ม โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการใน 3 รูปแบบร่วมกัน คือ หนึ่ง การวิเคราะห์แบบจุลภาคและมหภาพ  สองคือการวิเคราะห์ความหมายสองมิติ คือความหมายเชิงพื้นผิวและความหมายเชิงลึก และสาม การวิเคราะห์ตามแนวคิดเชิงโครงสร้างและเชิงหลังโครงสร้าง เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่าง ความรู้ และความจริง

     ผลจากการวิเคราะห์ พบว่า อดีตนายกทักษิณใช้ กลยุทธ์ทางภาษา 6 ขั้นเพื่อให้มีอิทธิพลต่อระบบคิด ความรู้สึก อัตตลักษณ์และอุดมการณ์ของคนจน กลไกดังกล่าวประกอบด้วย การนิยามความหมายคำว่าความยากจน เพื่อให้มองเห็นความจริงเรื่องความจนในลักษณะหนึ่ง และภายใต้ความจริงเรื่องความจนเช่นนั้น มีการใช้กลวิธีทางวาทกรรมเพื่อนำไปสู่การผลิตซ้ำระบบความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ ภายใต้รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมการเมืองของไทย

Article Details

How to Cite
Geerapatr, N. (2012). POLITICAL DISCORUSE: THE POLITICS OF THAI POVERTY วาทกรรมการเมือง : การเมืองเรื่องความยากจนในสังคมไทย. NIDA Development Journal, 48(4), 1–32. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/2845
Section
Articles