นโยบายศาสตร์เชิงวิพากษ์

Main Article Content

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ

Abstract

       นโยบายศาสตร์เชิงวิพากษ์ (the critical policy science) เป็นการศึกษานโยบายสาธารณะแนวใหม่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีวิพากษ์ (critical theory) โดยการนำของนักทฤษฎีนโยบายสาธารณะ เช่น จอห์น เอส ดรายเซ็ก (John S.  Dryzek) ปีเตอร์ เดอลีออง (Peter deLeon) และแฟรงค์   ฟิชเชอร์ (Frank Fisher) ซึ่งได้นำทฤษฎีวิพากษ์มาวิพากษ์หลักเหตุผลและกระบวนการประชาธิปไตยในการวิเคราะห์นโยบายของกระแสหลัก และเสนอแนวทางใหม่ที่เห็นว่าใช้หลักเหตุผลที่กว้างกว่าและเป็นประชาธิปไตยมากกว่า ทำให้การศึกษานโยบายสาธารณะเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในแง่ญาณวิทยา (epistemology) และระเบียบวิธี (methodology) และทำให้เกิดขบวนการ (movements) และแนวทาง (approaches) ใหม่ ๆ ในการวิเคราะห์และผลักดันนโยบาย เช่น การวิเคราะห์นโยบายแบบถกแถลง (deliberative policy analysis) แนวทางการโต้แย้ง (argumentative turn) และนโยบายสาธารณะในชุมชน (public policy in the community) ส่งผลต่อเนื่องให้บทบาทและฐานะของนักวิเคราะห์นโยบายเปลี่ยนจากการวิเคราะห์นโยบายอย่างเดียวไปเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) และการเปลี่ยนแปลงในบริบทสากลนี้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาและการปฏิบัติทางด้านนโยบายสาธารณะในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

 

Article Details

How to Cite
เกษสุวรรณ เ. (2012). นโยบายศาสตร์เชิงวิพากษ์. NIDA Development Journal, 49(1(พ), 41–66. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/2858
Section
Articles