การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของการนำเอากรอบสมรรถนะมาใช้ในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนของไทย The study of comparing the difference in the application of competency model between public and private organizations

Main Article Content

นิสดารก์ เวชยานนท์

Abstract

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาการนำแนวคิดสมรรถนะเข้ามาใช้ในองค์การใน  5 ประเด็น  อันได้แก่  ประเด็นที่หนึ่ง เหตุผลของการนำเอากรอบสมรรถนะเข้ามาใช้ในองค์การ ประเด็นที่สอง  กระบวนการในการสร้างกรอบสมรรถนะขององค์การ  ประเด็นที่สาม การนำกรอบสมรรถนะมาใช้กับด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ประเด็นที่สี่  ผลที่ได้รับจากการนำแนวคิดสมรรถนะมาใช้ในองค์การ  และประเด็นที่ห้า ปัญหาและอุปสรรคต่อการนำแนวคิดสมรรถนะมาใช้ในองค์การ  โดยศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของไทย  ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก  มีประชากรคือหน่วยงานราชการไทยระดับกรมหรือเทียบเท่ากรม บริษัทของคนไทย และบริษัทต่างชาติที่เข้ามาเปิดดำเนินกิจการในประเทศไทย รวมทั้งใช้การสัมภาษณ์ประกอบการวิจัยจากผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชน  จากผลการศึกษาพบว่า  เหตุผลในการนำกรอบสมรรถนะมาใช้มีความแตกต่างกัน  โดยองค์การภาคเอกชนให้เหตุผลว่าต้องการเป็นองค์การที่มีผลการปฏิบัติงานสูง (High performance organization) ขณะที่องค์การภาครัฐนำแนวคิดนี้มาใช้เพราะเป็นนโยบายจากผู้บริหาร  ในประเด็น กระบวนการสร้างกรอบสมรรถนะ  องค์การภาครัฐจะนิยมการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจากภายนอกมาช่วยพัฒนากรอบสมรรถนะให้  ในขณะที่ภาคเอกชนนิยมพัฒนากรอบสมรรถนะขึ้นภายในองค์การเอง   ด้านการนำกรอบสมรรถนะมาปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์  พบว่า องค์การภาคเอกชนได้นำกรอบสมรรถนะไปใช้ในระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทุกระบบ  ขณะที่องค์การภาครัฐไม่ได้เอาเรื่องกรอบสมรรถนะไปใช้ในการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพการธำรงรักษาบุคลากร อีกทั้งผลที่ภาคเอกชนได้รับจากการนำกรอบสมรรถนะมาใช้ยังสูงกว่าภาครัฐในทุกด้าน  อย่างไรก็ตามทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างก็ประสบปัญหาและอุปสรรคในการนำกรอบสมรรถนะมาใช้ไม่แตกต่างกัน  โดยเฉพาะปัญหาการขาดพันธะผูกพันร่วมกันในการนำกรอบสมรรถนะมาใช้ในองค์การ

Article Details

Section
Articles