การวิเคราะห์รูปแบบการบริหารงานจังหวัด : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา An Analysis of Selected Models of Provincial Administration : A Case Study of Songkhla Province

Main Article Content

วิชัย กาญจนสุวรรณ

Abstract

     การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์รูปแบบการบริหารงานจังหวัด กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของหน่วยราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัดสงขลา วิเคราะห์ภาระหน้าที่ที่ควรจะเป็นขององค์การบริหารทั้งสามระดับ พร้อมทั้งวิเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารงานจังหวัดสงขลา

      จากการรวบรวมข้อมูลและสัมภาษณ์ผู้นำราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดสงขลา จำนวน 414 คน พร้อมทั้งได้จัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้มีประสบการณ์  ผลการวิจัยได้ข้อสรุป ดังนี้

        มีหน่วยราชการส่วนกลางที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัดสงขลา จำนวน 218 หน่วยงาน หน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค จำนวน 44 หน่วยงาน และหน่วยราชการบริหารส่วนท้องถิ่น 3 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนตำบล 118 หน่วยงาน เทศบาล 22 หน่วยงาน และองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 หน่วยงาน ภารกิจหลายด้านทับซ้อนกัน เพราะการแบ่งแยกหน้าที่ไม่ชัดเจน งบประมาณส่วนใหญ่เป็นของราชการส่วนกลาง   ผลการศึกษาพบว่า ภารกิจที่ราชการส่วนกลางควรปฏิบัติมีเพียง 3 กิจกรรม ราชการส่วนภูมิภาคมีจำนวน 16 กิจกรรม และราชการส่วนท้องถิ่นมี 15 กิจกรรม

    รูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารราชการจังหวัดสงขลา คือ รูปแบบการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ระยะแรกอาจจะถ่ายโอนอำนาจจากส่วนกลางมายังส่วนภูมิภาคก่อน โดยเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมากขึ้น แต่เป้าหมายระยะยาวต้องทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง ทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนของสังคม โดยจัดการบริหารจังหวัดสงขลาเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่เหมือนกรุงเทพมหานคร

   ผลงานวิจัยชิ้นนี้เสนอแนะต่อรัฐบาลว่า รัฐบาลควรมุ่งมั่น ผลักดัน อำนาจหน้าที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

Article Details

Section
Articles