การวัดประสิทธิภาพของโรงพยาบาลในฐานะเครื่องมือติดตามประเมินผล กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง 166 แห่งในสังกัดปลัดกระทรวงสาธารณสุข Efficiency of the Medium-Sized Community Hospitals in Thailand: The Case Study of 166 Community Hospitals Under the Ministry

Main Article Content

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์

Abstract

     บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัยการคลังเพื่อสุขภาพ สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก) โดยเน้นการวัดประสิทธิภาพของโรงพยาบาล โดยใช้กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางจำนวน 166 แห่ง ซึ่งสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆทั่วประเทศ  วิธีการวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลอง DEA (Data Envelopment Analysis) โดยวัดด้านการบริหารต้นทุน (cost efficiency) ต้นทุนจำแนกออกเป็นสองส่วน กล่าวคือ ต้นทุนด้านบุคลากร (C1) และต้นทุนดำเนินการ (C2) เปรียบเทียบกับผลผลิตของสถานพยาบาลได้แก่ การรักษาผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก จำนวนผู้ป่วยที่รับต่อจากสถานพยาบาล ผลการวิเคราะห์พบว่า ระดับประสิทธิภาพของต้นทุนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 78% (ใช้ข้อสมมติ VRS = variable returns to scale) ในจำนวนนี้พบว่ามีสถานพยาบาล 17 แห่งที่มีประสิทธิภาพระดับแนวหน้า  การวัดประสิทธิภาพฯ มีคุณประโยชน์ในเบื้องต้นที่ให้ข้อสังเกตว่า มีช่องทางปรับปรุงประสิทธิภาพโดยเฉพาะหน่วยงานที่ค่าประสิทธิภาพต่ำ ทั้งนี้ควรจะสนับสนุนให้มีการศึกษาเชิงลึกเพื่อเข้าใจข้อจำกัดของแต่ละสถานพยาบาลหรือลักษณะพิเศษ เช่น การตั้งบนพื้นที่เกาะหรือเขตชนบทห่างไกล  และการให้รางวัลและยกย่องหน่วยงานที่มีคะแนนประสิทธิภาพสูง รวมทั้งการบันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพจุดแข็งการบริหารของกลุ่มโรงพยาบาลที่ได้คะแนนสูง ว่ามีการควบคุมต้นทุน การจัดบุคลากรหรือนวัตกรรมการทำงานอย่างไร

Article Details

Section
Articles