การประเมินระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี กรณีศึกษา: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ Technological Capability Assessment in Technological Driven Industry The Case Study: Automotive Electronic Industry

Main Article Content

ชัชนันท์ แสงขรรค์ชัย
ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี

Abstract

     งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี (Technology - driven Industry)  ซึ่งนำเสนอกรณีศึกษาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างกรอบการประเมินระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีในปัจจุบันและหาแนวทางในการพัฒนา โดยกรอบการประเมินนี้ประยุกต์ขึ้นจากแนวคิดของ Bell and Pavitt (1995) และถูกปรับให้สอดคล้องกับลักษณะของอุตสาหกรรมที่ทำการศึกษา ซึ่งงานวิจัยนี้ได้จำแนกความสามารถทางเทคโนโลยีออกเป็น 11 ด้าน และดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบริษัทที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถทางด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีระดับต่ำที่สุดซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเป็นอันดับแรก นอกจากนี้การพิจารณาขีดความสามารถในแต่ละด้าน พบว่าในแต่ละบริษัทที่ทำการศึกษามีระดับขีดความสามารถที่แตกต่างกัน โดยการที่จะยกระดับขีดความสามารถบริษัทเหล่านั้นให้ทัดเทียมกัน ถ้ากรณีที่บริษัทมีระดับขีดความสามารถเท่ากันหรือแตกต่างกันไม่มากก็สามารถทำได้โดยการแลกเปลี่ยนหรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีกันโดยตรง ส่วนกรณีที่ระดับขีดความสามารถแตกต่างกันมากนั้น จำเป็นต้องส่งเสริมให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ช่วยในการรับและถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อไปยังบริษัทที่มีระดับขีดความสามารถต่ำกว่าอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า ระดับขีดความสามารถของบริษัทในแต่ละด้านยังขึ้นอยู่กับลักษณะการดำเนินงานซึ่งเกี่ยวข้องกับสัญชาติความเป็นเจ้าของในบริษัทที่ทำการศึกษา เช่น บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยมีระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตสูงกว่าบริษัทต่างสัญชาติที่อยู่ในประเทศไทย แต่ในด้านการตัดสินใจลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยนั้นมีระดับขีดความสามารถที่ต่ำกว่าบริษัทที่มีสัญชาติอื่น ซึ่งเป็นผลจากการที่บริษัทญี่ปุ่นมีลักษณะการรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจไว้ที่บริษัทแม่เป็นหลัก

Article Details

Section
Articles