การศึกษาเปรียบเทียบเรื่องความดี: ศึกษาเฉพาะนิทานธรรมและนิทานชาวบ้าน A Comparative Study of goodness : Cases of dhamma tales and folktales

Main Article Content

จริยา สมประสงค์

Abstract

       การวิจัยเรื่อง  “การศึกษาเปรียบเทียบเรื่องความดี ศึกษาเฉพาะนิทานธรรมและนิทานชาวบ้าน”  มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาความหมายของความดีที่เป็นสากล  2) เพื่อศึกษาแนวทางการทำ ‘ความดี’ ที่กล่าวถึงในเนื้อหานิทานธรรม และนิทานชาวบ้าน  3) เพื่อศึกษาข้อคิด และคติสอนใจในวรรณกรรมประเภทนิทาน  

       วิธีการศึกษา ศึกษาข้อมูลปฐมภูมิทั้งข้อมูลจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ และจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก(dept interview) ตามวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากหนังสือ ตำรา งานวิจัย  และนำข้อมูลที่ได้มาเทียบเคียงกัน สู่ข้อสรุป ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

         ความหมายของความดีพบว่า  คือการกระทำที่แสดงออกถึงคุณลักษณะทางกาย ทางใจ และทางอุดมคติประกอบกัน  ส่งผลให้พฤติกรรมเป็นไปในแนวทางที่ต้องการ  น่าปรารถนา   น่าพอใจ 

         ความสอดคล้องกันในแนวทางการทำความดี  พบว่า การประพฤติปฏิบัติความดีมี 3 ทาง ได้แก่  ดีทางกาย คือมีความประพฤติ ปฏิบัติดี   ดีทางใจคือมีจิตใจดี  คิดดี ปรารถนาดี  และดีทางอุดมคติ  คือการปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนา   การทำความดีที่พบแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ ระดับศีลธรรมประเมินโดยใช้แนวคิดหลักของศาสนา ระดับคุณธรรมสังเกตได้ยากยิ่งกว่าระดับจริยธรรม   และที่สังเกตได้ยากที่สุดคือระดับจรรยาบรรณของความดีที่เป็นอุดมคติ    ข้อคิด และคติสอนใจในนิทานธรรม พบว่า นิทานชาดก   ประวัติพระอัครสาวก  อัครธรรมทูต  ศาสดาและนบีจะอิงหลักศาสนา   เป็นความดีในระดับที่เหนือกว่าอุดมคติ คือหลักศีลธรรมโดยศาสนาพุทธอิงหลักการทำดี ละเว้นความชั่ว  ทำจิตใจให้ผ่องใส เชื่อเรื่องกรรม  มีศีล 5 เป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติเบื้องต้น มุ่งสู่นิพพานเป็นที่สุด    ศาสนาอิสลาม เคารพต่ออัลลอฮฺผู้ทรงเป็นความดีสูงสุด   เชื่อฟังปฏิบัติตามโดยอิงหลักพระคัมภีร์อัลกุรฺอาน และหะดีษ ถือหลักปฏิบัติ 5 ประการเรียกว่าอิบาดาฮฺ  หลักศรัทธา 6  หลักจริยธรรม และหลักสภาวการณ์  มุ่งกลับคืน สู่พระผู้เป็นเจ้า   ศาสนาคริสต์    ประพฤติตน ตามแนวทางในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่และบัญญัติสิบประการ  เชื่อเรื่องแดนชำระสู่ชาติหน้า ถือหลักรักพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง  และปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นที่ปฏิบัติต่อตนเอง  ส่วนข้อคิดจากนิทานชาวบ้านประเภทนิทานอีสป  พบว่าสอดคล้องกับหลักศาสนา เป็นการทำความดี ประพฤติปฏิบัติดีในระดับจริยธรรมและคุณธรรม ได้แก่  ความสามัคคี  ความกตัญญู  ความซื่อสัตย์  ความเพียร ความมานะอดทน ความเมตตา  ความมีสติปัญญา  ความรักสันติและความถ่อมตน  

Article Details

How to Cite
สมประสงค์ จ. (2012). การศึกษาเปรียบเทียบเรื่องความดี: ศึกษาเฉพาะนิทานธรรมและนิทานชาวบ้าน A Comparative Study of goodness : Cases of dhamma tales and folktales. NIDA Development Journal, 49(3), 75–101. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/2901
Section
Articles