หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประเด็นทางสังคมเพื่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ The Criteria for Social Issue Selection for CSR Activities Implementation in Business Organization

Main Article Content

สายทิพย์ โสรัตน์
ทิพวรรณ ปิ่นวนิชกุล

Abstract

      การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หาหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกประเด็นทางสังคม เพื่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ขององค์กรธุรกิจในบริบทของสังคมไทย โดยใช้เทคนิคเดลฟายกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างแบบสอบถามใช้สำรวจความสนใจในการนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ผลการศึกษา พบว่า สามารถแยกปัจจัยที่ใช้เป็น 2 กลุ่ม คือปัจจัยจากภายในองค์กร โดยหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญในระดับมากที่สุด คือ ผลการดำเนินการขององค์กรที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและต่อสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับบริบทขององค์กร ทั้งในเรื่องของนโยบาย เป้าหมาย และธุรกิจหลัก และกิจกรรม CSR ที่จะทำนั้นสามารถใช้ทรัพยากรที่ลงทุนในการทำ CSR ได้อย่างคุ้มค่า และปัจจัยจากภายนอกองค์กร คือ ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในชุมชนรอบข้างที่องค์กรจะสามารถนำมาดำเนินกิจกรรม CSR ได้ และระดับความรุนแรงและเร่งด่วนของปัญหาทางสังคมที่ต้องการการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหา

       แม้ว่า CSR มีแนวคิดพื้นฐานจากการคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ผลการศึกษาได้สะท้อนว่า ปัจจัยที่ได้รับการให้ความสำคัญในระดับมากและมากที่สุด เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจขององค์กร ขณะเดียวกันองค์กรธุรกิจยังให้ความสนใจน้อยในด้านการตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กร และการกระจายการลงทุนไปในกิจกรรม CSR ด้านต่างๆอย่างทั่วถึง

       ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ คือ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะพื้นฐานขององค์กร จึงควรนำหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญมากมาใช้ก่อน และควรพิจารณาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม ภายในกรอบกลยุทธ์ขององค์กรนั้น ๆ

Article Details

Section
Articles