จดหมายถึงบรรณาธิการในคอลัมน์โพสต์แบก หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ : การวิเคราะห์เชิงภาษาศาสตร์สังคมและวัจนปฏิบัติศาสตร์ A Sociolinguistic and Pragmatic Analysis of the Letters to the Editor in the Post Bag Column of the Bangkok Post
Main Article Content
Abstract
จดหมายถึงบรรณาธิการที่ลงพิมพ์ในคอลัมน์โพสต์แบก หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ในช่วงเดือนมกราคม 2550 – มกราคม 2551 จำนวน 500 ฉบับ ได้ถูกนำมาวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพโดยใช้กรอบทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ ได้แก่ ชนิด โครงสร้าง วาจก (กรรตุวาจก และกรรมวาจก) ของประโยค วิเคราะห์เชิงภาษาศาสตร์สังคม (การเรียบเรียงความคิด หัวข้อ และจุดประสงค์ในการเขียน) ผลการวิจัยพบว่าหัวข้อที่มีผู้เขียนมากที่สุดสี่ลำดับแรกได้แก่ การเมือง การศึกษา กฎหมาย และการบริหาร รูปแบบการเรียบเรียงความคิดได้แก่ ความคิดกว้างและความคิดแคบ เหตุและผล และการเรียงความ จุดประสงค์ของการเขียนได้แก่ การติเตียน การเรียกร้องให้ปฏิบัติ การแสดงความเห็นด้วย และการให้ข้อมูล โครงสร้างประโยคที่ใช้ในการเขียนประมาณครึ่งหนึ่งเป็นประโยคซับซ้อน รองลงมาคือประโยคสามัญ และประโยค ประสม ชนิดของประโยคส่วนใหญ่เป็นประโยคบอกเล่า มีประโยคคำถามและประโยคคำสั่งเพียงเล็กน้อย ประโยคกรรตุวาจกมีจำนวนเกือบสามเท่าของประโยคกรรมวาจก การอภิปรายผลการวิจัยเน้นการใช้ภาษาในบริบทและวัตถุประสงค์ต่าง ๆ หรือในเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ มีข้อเสนอแนะเพื่อการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษและสาขาที่เกี่ยวข้อง