ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (E-customs) ของผู้ประกอบการไทยในเขตภาคตะวันออก

Authors

  • วิโรจน์ เดชนำบัญชาชัย

Keywords:

ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร, ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบอีดีไอ, ระบบเชื่อมโยงข้อมูลอย่างสมบูรณ์แบบ

Abstract

       หลังสิ้นสุดการใช้พิธีการศุลกากรระบบอีดีไอในปี พ.ศ. 2550 อาจกล่าวได้ว่า พิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารเป็นระบบใหม่ที่กรมศุลกากรพึ่งนำมาใช้ในประเทศไทย และเป็นระบบที่เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการแข่งขันในภาคธุรกิจของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาวิจัยของระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาว่า อะไรคือปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร(E-customs) ของผู้ประกอบการไทยในเขตภาคตะวันออก ผลการวิจัยที่ได้จะนำเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะกรมศุลกากรเพื่อนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้ดีขึ้น

      ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (E-customs) ของผู้ประกอบการไทยในเขตภาคตะวันออก ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยผลประโยชน์  2) ปัจจัยการจัดฝึกอบรมจากกรมศุลกากรและตัวองค์กร 3) ปัจจัยกฎระเบียบหรือคู่มือปฏิบัติ 4) ปัจจัยความรู้ความเข้าใจ 5) ปัจจัยแรงกดดันจากอุตสาหกรรม นอกจากนั้น จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการไทยในเขตภาคตะวันออกค่อนข้างยอมรับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (mean 4.98) แต่เนื่องจากระบบ E-customs เป็นระบบใหม่ซึ่งยังพบปัญหาอีกมากมายในระยะแรก และรอการแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้น

Downloads

Published

2012-09-27

How to Cite

เดชนำบัญชาชัย ว. (2012). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (E-customs) ของผู้ประกอบการไทยในเขตภาคตะวันออก. NIDA Development Journal, 50(1), 59–79. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/2917