พัฒนาการของนิยามการตลาดของสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association หรือ AMA): การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากการตลาดในความหมายแคบสู่การตลาดในความหมายกว้าง

Main Article Content

ศรัณย์ รัตนสิทธิ์

Abstract

    บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงพัฒนาการของนิยามการตลาดของ AMA  โดยเริ่มจากการบรรยายถึงประวัติความเป็นมาโดยสังเขปของการให้นิยามการตลาดและนิยามการตลาดตามลำดับเวลา ตามด้วยการอธิบายพัฒนาการของนิยามการตลาดในกรอบของปัจจัย 5 ด้าน คือธรรมชาติของการตลาด ขอบเขต ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมการตลาด  โดยเน้นไปที่จุดอ่อนของนิยามการตลาดในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งทำให้การตลาดมีความหมายแคบ  และจุดแข็งของนิยามการตลาดปัจจุบันปี พ.ศ. 2550 ซึ่งทำให้การตลาดมีความหมายกว้าง  พร้อมทั้งเสนอข้อวิจารณ์ล่าสุดของนักการตลาดที่มีต่อนิยามการตลาดปัจจุบัน   บทความนี้สรุปว่า ปัญหาการขัดแย้งทางความคิดที่เรื้อรังเกี่ยวกับนิยามการตลาดระหว่างนักวิชาการการตลาดกับนักการตลาดภาคปฏิบัติน่าจะมีข้อยุติ  หากนักปฏิบัติตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างผลประโยชน์ของตนเองกับผลประโยชน์สาธารณะ ซึ่งในกรณีของประเทศไทยนั้นพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นหนึ่งในสามสถาบันหลักของชาติคือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของความเชื่อมโยงดังกล่าว  ประโยชน์หลักของบทความนี้คือการกระตุ้นให้สังคมตระหนักถึงความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำการตลาดอย่างสร้างสรรค์อันจะเป็นบรรทัดฐานให้นักการตลาดปรับตัวไปในทิศทางที่ถูกต้อง  จนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยนำพาประเทศไทยฟันฝ่าวิกฤตสู่สังคมใหม่ต่อไป  

 

Article Details

How to Cite
รัตนสิทธิ์ ศ. (2012). พัฒนาการของนิยามการตลาดของสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association หรือ AMA): การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากการตลาดในความหมายแคบสู่การตลาดในความหมายกว้าง. NIDA Development Journal, 50(1), 127–144. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/2921
Section
Articles