Willingness to Pay for a Free HIV Vaccination Programme
Main Article Content
Abstract
Of all contingent valuation method (CVM) studies on HIV vaccines, this study has led the way in estimating the willingness to pay (WTP) for a free HIV vaccination scheme at a national level in Thailand. Using the double bounded format with an open-ended follow up question, this study created a CVM scenario, a one-year free HIV vaccination programme, vaccinating both male and female commercial sex workers (CSWs) over the age of 15 for free in red light districts around major cities in Thailand. The vaccine attributes used in this scheme were 30% or 70% effectiveness, no side-effects, 15 years of protection, protection from multiple strains of HIV/AIDS, and a one dose injection.
With a 600-split sample survey in Bangkok, this study asked 20-60 year old tax payers in the Bangkok metropolitan area how much they would be willing to pay for this free scheme by a single yearly income tax payment of either THB 500, 1,500, 2,000, 3,500, 5,000, or 6,000. The results of the probit model for public demand for this free scheme have found that the mean WTP value with 70% vaccine effectiveness was THB 2,050 for a double bounded format estimate, while mean WTP value 30% vaccine effectiveness was of THB 1,746. INCOME and RATE are the major factors affecting the willingness to pay for the free HIV vaccine scheme, while AGE showed a negative relationship willingness to sponsor this scheme.
รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับโครงการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HIV ฟรี ในประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาชิ้นแรกโดยใช้วิธีการแบบ Contingent Valuation ภายใต้วิธีการถามแบบ (Double Bounded) แล้วตามด้วยคำถามปลายเปิด (open-ended) โดยที่โครงการนี้ มีระยะเวลาเพียงแค่ปีเดียวนี้ที่จะฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HIV ฟรีให้แก่ผู้ขายบริการทางเพศทั้งชายและหญิงตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป ตามย่านสถานบริการทางเพศ และบันเทิงต่างๆภายในเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศ โดยวัคซีนที่ใช้ในโครงการนี้ จะมีประสิทธิภาพป้องกันเพียง 30 หรือ 70 เปอร์เซ็นต์ วัคซีนที่ว่านี้ ฉีดเพียงเข็มเดียว สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ได้นานเป็นระยะเวลา 15 ปี โดยจะไม่มีผลข้างเคียง
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการสำรวจโดยการสัมภาษณ์คนจำนวนทั้งหมด 600 คน ในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุระหว่าง 20-60 ปี ซึ่งเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ โดยศีกษาในความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อสนับสนุนโครงการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HIV ฟรีนี้ โดยการจ่ายผ่านภาษีบุคคลธรรมดาเพียงครั้งเดียวในอัตราภาษีที่เรียกเก็บหลายระดับ ได้แก่ 500, 1,500, 2,000, 3,500, 5,000 และ 6,000 บาทต่อปี ผลการศึกษาพบว่า ความเต็มใจที่จะจ่ายโดยเฉลี่ย เพื่อสนันสนุนโครงการที่ใช้วัคซีนประสิทธิภาพ 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงิน 2,050 บาท และ วัคซีนประสิทธิภาพ 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวนเงิน 1,746 บาท ตัวแปร รายได้ และ อัตราภาษีที่เรียกเก็บ มีผลต่อการตัดสินใจในการเต็มใจที่จะจ่าย ในขณะที่ ตัวแปรด้านอายุ มีผลตรงกันข้ามในการตัดสินใจที่จะสนับสนุนโครงการนี้