คุณภาพชีวิตกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ Economic Growth, Income Distribution and Quality of Life
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างเครื่องชี้คุณภาพชีวิตที่เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย 5 ด้าน ได้แก่ อายุขัยเฉลี่ย อัตรามรณะของทารก อัตราการรู้หนังสือ การกระจายรายได้และรายได้เฉลี่ยต่อคน จากข้อมูลภาคตัดของ 125 ประเทศ ผลการศึกษาชี้ว่า 1) เมื่อรายได้เฉลี่ยต่อคนสูงขึ้นจะส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำของรายได้ลดลง อย่างน้อยในช่วงที่รายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วงปานกลางจนถึงช่วงรายได้สูง 2) การเพิ่มขึ้นของรายได้เฉลี่ยต่อคนและการลดลงของความเหลื่อมล้ำของรายได้ยังช่วยให้คุณภาพชีวิตอีก 3 ด้านดีขึ้น ได้แก่ การมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น อัตรามรณะของทารกลดลง และอัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้น 3) การเพิ่มขึ้นของรายได้ส่งผลต่ออายุขัยเฉลี่ยและอัตรามรณะของทารกมากกว่าการกระจายรายได้หลายเท่า ส่วนผลต่ออัตราการรู้หนังสือนั้นใกล้เคียงกัน
Article Details
How to Cite
ชินทยารังสรรค์ ร. (2012). คุณภาพชีวิตกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ Economic Growth, Income Distribution and Quality of Life. NIDA Development Journal, 51(1), 1–17. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/2974
Section
Articles