การพัฒนาตัวชี้วัดการแก้ไขปัญหาความยากจนเพื่อการติดตามและประเมินผล The Development of Poverty Reduction Indicators for Monitoring and Evaluation

Main Article Content

สุมาลี สันติพลวุฒิ
สมหมาย อุดมวิทิต
รสดา เวษฎาพันธุ์
บัณฑิต ชัยวิชญชาติ

Abstract

     การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างดัชนีชี้วัดการแก้ไขปัญหาความยากจนที่เหมาะสมและสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับติดตามและประเมินผลประสิทธิผลของการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศไทย โดยได้จำแนกมิติของความยากจนออกเป็น 8 มิติ คือ มิติรายได้ มิติการจ้างงาน มิติการศึกษา มิติสุขภาพ มิติที่อยู่อาศัย มิติการมีส่วนร่วม และมิติการเข้าถึงบริการ สำหรับค่าดัชนีชี้วัดการแก้ไขปัญหาความยากจนที่สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2535 - 2547 แสดงว่าสถานการณ์ความยากจนในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยค่าดัชนีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับอุบัติการณ์แห่งความยากจนและสัมประสิทธิ์จินี ภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่ระดับหนึ่งสำหรับการสร้างดัชนีและการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาเทคโนโลยีและการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรควรเป็นแหล่งที่มาของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมต่อการลดความยากจน นอกจากนี้ รัฐบาลควรมุ่งเน้นการใช้จ่ายที่เป็นการเสริมสร้างสมรรถนะในการสร้างความรู้ ความมีเหตุมีผล การพัฒนาศักยภาพ และทักษะของประชาชนทุกวัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการลดความยากจนในประเทศไทย

Article Details

How to Cite
สันติพลวุฒิ ส., อุดมวิทิต ส., เวษฎาพันธุ์ ร., & ชัยวิชญชาติ บ. (2012). การพัฒนาตัวชี้วัดการแก้ไขปัญหาความยากจนเพื่อการติดตามและประเมินผล The Development of Poverty Reduction Indicators for Monitoring and Evaluation. NIDA Development Journal, 51(1), 19–46. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/2975
Section
Articles