จากแหล่งศูนย์กลางของสถานที่สู่แหล่งศูนย์กลางของกระแสการไหล: หลักฐานหนึ่งจากภูมิภาคเมืองโคราช, การใช้วิธีทางเครือข่าย From Central of Places to Central of Flows: An Evidence from The Korat City Region, Using Network-Based Approach

Main Article Content

วิทยา เรืองฤทธิ์
ฮอง ฉาง เซี๊ยะ

Abstract

แม้นักวิชาการต่างตระหนักดีถึงความบกพร่องของแบบจำลองแหล่งกลางโดยตลอดมา แต่ก็ไม่อาจหากระบวนทัศน์อื่นใดเข้ามาแทนที่อย่างเหมาะสมได้ จนกระทั่งนักวิจัยได้พัฒนาตัวแบบใหม่ในการจัดการเชิงพื้นที่ออกมานั้นก็คือ ตัวแบบฐานคติเครือข่าย ซึ่งบทความนี้ได้เริ่มต้นด้วยการสาธยายเชิงเปรียบเทียบระหว่างลักษณะของแบบจำลองแหล่งกลางกับแบบจำลองเครือข่ายที่มีแนวโน้มจะมีบทบาทมากขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติยังไม่ค่อยมีการวินิจฉัยถึงความสามารถที่แท้จริงของเครือข่ายกันเท่าใดนัก ด้วยเหตุนี้จึงได้พยายามที่จะปิดช่องว่างทางวรรณกรรมมาสู่การพิจารณาเชิงประจักษ์ถึงอิทธิพลของเครือข่ายลำดับชั้นเมืองต่อการก่อตัวของระบบชุมชนในภูมิภาคเมืองโคราช ซึ่งในที่นี้ได้นำแนววิธีตามแบบแผนการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมมาประยุกต์กับกรณีศึกษา โดยผลลัพธ์แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการอรรถาอธิบายและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกระแสการเดินทางไปทำงานแบบเช้าไปเย็นกลับ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์การวิเคราะห์เครือข่ายอย่าง Netdraw และ Ucinet VI ในส่วนสุดท้ายของบทความยังได้ทำการสรุปและอภิปรายถึงข้อจำกัดทางการศึกษาและข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมในขอบเขตการศึกษาเรื่องเมืองและการวางแผน

Article Details

Section
Articles