Politics in the Public Media Policy in Thailand การเมืองในนโยบายสื่อสาธารณะของประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
This article is aimed at analyzing the public media policy process by presenting the roles of interest groups and social mobilization in order to find out how the public media policy and the organizing of the Thai Public Broadcasting Service (TPBS) under the political context. Drawing primarily upon qualitative evidence, including primary documents and in-depth interviews with policy stakeholders, the study shows that in order to change the cancelled UHF television into the public media is the best way out of the dictatorial government to solve the problems of public media policy. The case of the TPBS is fruit directly borne out of the research and advocacy of a technocratic clique that had access to political power during the 2006 military coup-installed administration and legislature. The public media established during dictatorial government never reflects the great power from below but it is pushed by the rulers or technicians who believe that they themselves know more than others do.
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการนโยบายสื่อสาธารณะโดยมุ่งเสนอบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในกระบวนการนโยบายสื่อสาธารณะเพื่อค้นหาว่าการจัดตั้งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เป็นอย่างไร ภายใต้บริบททางการเมือง โดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพทั้งการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนโยบายสื่อสาธารณะ ผลการวิจัยพบว่า การนำสถานีโทรทัศน์ ยู เอช เอฟ หรือสถานีโทรทัศน์ไอทีวีที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้กลับคืนมาจากผลการยกเลิกสัญญามาแปลงสภาพเป็นสื่อสาธารณะเป็นทางออกที่มีความเป็นไปได้สูงสุดของรัฐบาล กรณีการจัดตั้ง ส.ส.ท. ชี้ให้เห็นว่า เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักวิชาการที่ได้ใช้ความรู้จากฐานงานวิจัยมาสนับสนุนเพื่อเป็นพลังในการต่อรองและเข้าถึงอำนาจทางการเมืองในช่วงที่รัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาจากการแต่งตั้งโดยการรัฐประหารช่วงปีพ.ศ.2549 สื่อสาธารณะถูกจัดตั้งขึ้นในรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารจึงย่อมต้องตระหนักว่า สื่อสาธารณะไม่ได้ถูกสร้างจากข้างล่างที่ประชาชนต้องการให้ได้มาแต่เกิดจากชนชั้นนำซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือนักเทคนิคที่เชื่อว่าตนเป็นผู้รู้มากกว่าผู้อื่น