The Impact of ICT and Networking on the Business Performance of One Tambon One Product Enterprises in Greater Bangkok and Metropolitan Areas
Keywords:
OTOP, Entrepreneur, Business Performance, ICT Adoption and Entrepreneurial NetworksAbstract
This study attempts to explore and examine OTOP entrepreneurs’ business performance through relationships with ICT adoption and entrepreneurial networks in greater Bangkok and metropolitan areas. Survey data were collected from a sample of 339 OTOP entrepreneurs and in-depth interviews of government officials, and key informants of OTOP entrepreneurs were conducted.
The results from the empirical findings are: work experience, number of employees, ICT adoption and entrepreneurial networks have positive relationships with business performance. Further, business performance had an impact from work experience, number of employees, ICT adoption, and entrepreneurial networks. An increase in the work experience of the entrepreneur, an increase in the number of employees, an increase in the adoption and application of ICT, and an increase in entrepreneurial networkings were seen to increase business performance.
The government should provide financial support, quality training and management, and create a conducive environment so that OTOP entrepreneurs can realize their full potential and maximize their contribution to the country’s economic development. OTOP entrepreneurs should utilize ICT and networks to strengthen their business performance. The government should have a choice of policies that will enable OTOP entrepreneurs to survive and to grow. The justification for such policies is that OTOP enterprises are major sources of job creation, innovation, and competitiveness. It is the government’s responsibility to support and promote entrepreneurs to enhance economic development. All involved in the OTOP Project for economic development should have integrated awareness and a holistic view to overcome challenges.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและระบบเครือข่ายวิสาหกิจ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจัดเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการวิสาหกิจในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จำนวน 339 รายและสัมภาษณ์เจาะลึกข้าราชการและผู้ประกอบการวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ
ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์การทำงาน จำนวนพนักงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและระบบเครือข่ายวิสาหกิจมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียว กล่าวคือ การมีประสบการณ์การทำงานมากขึ้น มีจำนวนพนักงานเพิ่มขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มขึ้นและการมีระบบเครือข่ายวิสาหกิจเพิ่มขึ้นทำให้ผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
รัฐบาลควรให้การสนับสนุนด้านการเงิน การฝึกอบรมและการบริหารจัดการและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ได้รับรู้และเข้าใจในสมรรถนะของตนและสนับสนุนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ผู้ประกอบการวิสาหกิจควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและระบบเครือข่ายวิสาหกิจเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับผลการดำเนินงาน รัฐบาลควรมีนโยบาลที่ทำให้มีผู้ประกอบการวิสาหกิจในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มีเพิ่มขึ้นและพัฒนาต่อไป นโยบายดังกล่าวนี้เป็นประโยชน์เพราะผู้ประกอบการวิสาหกิจในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นแหล่งสำคัญที่ทำให้มีการสร้างงาน สร้างนวตกรรมและการแข่งขัน รัฐบาลมีหน้าที่ในการให้การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จะต้องร่วมกันบูรณาการความรู้และความสามารถเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ