โครงสร้างความผันผวนรูปรอยยิ้ม (Volatility Smile) และความสามารถในการอธิบายและการคาดการณ์ความผันผวนที่เกิดขึ้นจริงของผลตอบแทนดัชนี SET50 โดยความผันผวนแฝง (Implied Volatility) ที่ได้จาก SET50 Option
Keywords:
ความผันผวนแฝง, ความผันผวน, การทำนายความผันผวน, อ๊อปชั่นAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมความผันผวนแฝง (Implied Volatility) ของ SET50 option โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2553 ผลการศึกษาพบว่า ความผันผวนแฝงไม่ได้มีค่าคงที่อย่างที่แบบจำลอง Black-Scholes ใช้เป็นสมมติฐาน โดยเมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความผันผวนแฝงกับราคาการใช้สิทธิ (Exercise price) ต่อราคา Futures (K/F) ของ call option และ put option จะพบลักษณะโครงสร้างความผันผวนเป็นรูปรอยยิ้ม (Volatility Smile)
ในการทดสอบความสามารถในการคาดการณ์ ความผันผวนที่เกิดขึ้นจริง (Realized Volatility) ของผลตอบแทนดัชนี SET50 พบว่า ความผันผวนแฝงเป็นค่าคาดการณ์ที่มีความผิดพลาดซึ่งวัดโดย RMSE (Root Mean Square Error) น้อยกว่าความผันผวนในอดีต (Historical Volatility)
เมื่อใช้ความผันผวนแฝงและความผันผวนในอดีตในสมการถดถอยเพื่ออธิบายความผันผวนที่เกิดขึ้นจริง ผลการศึกษาพบว่าสำหรับช่วงระยะเวลา 5-40 วันซื้อขายก่อนครบกำหนด ความผันผวนแฝงของทั้ง call option และ put option ไม่สามารถอธิบายความผันผวนที่เกิดขึ้นจริงได้ แต่ค่าความผันผวนในอดีตกลับสามารถอธิบายได้
สำหรับในช่วงระยะเวลา 41-60 วันซื้อขายก่อนครบกำหนด ความผันผวนแฝงสามารถอธิบายความผันผวนที่เกิดขึ้นจริงได้ และในกรณีของ call option เป็นค่าพยากรณ์ที่มีประสิทธิภาพ (Informational Efficient) ในแง่ที่ว่าตัวแปรอื่นคือความผันผวนในอดีตไม่สามารถอธิบายความผันผวนที่เกิดขึ้นจริงได้ แต่เป็นค่าพยากรณ์ที่มีอคติ (Biased Predictor) กล่าวคือไม่สามารถพยากรณ์ความผันผวนที่เกิดขึ้นจริงได้ถูกต้องโดยเฉลี่ย สะท้อนถึงการคาดการณ์ของตลาดที่ไม่สมบูรณ์ (Not perfectly rational expectation)