ประสิทธิภาพการผลิตรายจังหวัดและผลกระทบภายนอกของอุดมศึกษาไทย
Keywords:
ผลกระทบภายนอก, ประสิทธิภาพการผลิตรายจังหวัดAbstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือวัดผลตอบแทนภายนอกของอุดมศึกษา ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการศึกษา ซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนในอุดมศึกษาทั้งหมดคือการรวมผลตอบแทนของบุคคล สังคม และผลกระทบภายนอก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายการเงินอุดมศึกษา (Financing Higher of Education) หรือการอุดหนุนในระดับอุดมศึกษา ข้อมูลที่ใช้ศึกษาคือการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากรปี พ.ศ. 2544 ถึง 2552 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยใช้ข้อมูลไตรมาสที่สาม ที่มีการสำรวจทั่วประเทศ ขนาดของตัวอย่างมีจำนวนประมาณปีละหนึ่งแสน และอายุของตัวอย่างอยู่ระหว่าง 25-60 ปีตามแบบการศึกษาของธนาคารโลก โดยจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประเทศไทยมีค่าประมาณ 5-6 ปี เพราะร้อยละ 40-50 ของตัวอย่างเป็นผู้ไม่ได้รับการศึกษา และมีรายได้ตั้งแต่ศูนย์ถึงประมาณสามแสนบาทต่อเดือน
การศึกษานี้ใช้วัดผลกระทบภายนอกตามแบบ Davies (2002) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ ประเภทที่หนึ่งผลกระทบภายนอกจากเศรษฐกิจมหภาค (macro models of human capital externalities) โดยการวัดอัตราการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยรวม (total factor productivity) ประเภทที่สองผลกระทบภายนอกเชิงสถิตในตลาด (static of market externalities) ประเภทที่สามผลกระทบภายนอกนอกตลาด (static non-market externalities) ซึ่งไม่ได้คำนวณในงานวิจัยนี้ เพราะแบบจำลองมีขนาดใหญ่มากซึ่งใช้การประเมินจากผลกระทบการศึกษาต่อสังคมตาม McMahon (1999) และ ประเภทที่สี่วัดจากอัตราภาษีที่แท้จริงของทรัพยากรมนุษย์
ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบภายนอกทั้งหมดจากการอุดมศึกษามีค่าเท่ากับร้อยละ 8.12 เนื่องมาจากผลกระทบภายนอกของอุดมศึกษาเชิงมหภาคมีค่าประมาณร้อยละ 1.8-2 ในขณะที่ผลกระทบภายนอกของอุดมศึกษาจุลภาคเชิงพลวัตมีค่าประมาณร้อยละ 4.7 โดยผลกระทบภายนอกของอุดมศึกษาเชิงสถิตประมาณร้อยละ 0.48 และผลกระทบภายนอกจากอัตราภาษีที่แท้จริงประมาณร้อยละ 0.62-0.94