คุณภาพชีวิตของคนไทย : กรณีศึกษาผู้อาศัยอยู่ในเขตเมือง

Authors

  • มนตรี เกิดมีมูล

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ตัวชี้วัด, เขตเมือง

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ของคนในเขตเมือง   การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาได้แก่ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในเขตเมืองของจังหวัดต่าง ๆ รวม 15 จังหวัด  ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ชลบุรี นครราชสีมา หนองคาย อุบลราชธานี  พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ชุมพร นครศรีธรรมราช และสตูล  การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวมจำนวนตัวอย่างในการศึกษาทั้งสิ้น 1,473 คน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์   และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะภูมิหลังทางด้านประชากรต่าง ๆ กับคุณภาพชีวิตแต่ละด้าน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน t-test และ F-test  ที่ระดับนัยสำคัญ .05

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ได้แก่  อายุ ระดับการศึกษา และ รายได้ มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม  เพศ  อายุ  อาชีพ และ รายได้ มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านการทำงาน  ระดับการศึกษา และ รายได้ มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านครอบครัว  และ อายุ มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน

ผู้วิจัยเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านต่าง ๆ  ได้แก่  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมควรมีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมให้แก่กลุ่มผู้มีการศึกษาต่ำและมีรายได้น้อย  สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวควรมีการสร้างเครือข่ายกับคนในชุมชนเพื่อการเฝ้าระวังปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว   และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานควรปรับปรุงระบบสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือ

 

Downloads

Published

2013-01-24

How to Cite

เกิดมีมูล ม. (2013). คุณภาพชีวิตของคนไทย : กรณีศึกษาผู้อาศัยอยู่ในเขตเมือง. NIDA Development Journal, 52(3), 129–154. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/5164