การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยใช้แนวทางคลัสเตอร์: กรณีศึกษา คลัสเตอร์ผักปลอดสารพิษ และคลัสเตอร์สหกรณ์โคเนื้อ

Main Article Content

บุญอนันต์ พินัยทรัพย์

Abstract

บทคัดย่อ

โครงการวิจัย การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม[1]โดยใช้แนวทางคลัสเตอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ Cluster-based Approach ทำให้ SMEs เกิดการพัฒนาความสามารถทั้งในระดับผู้ประกอบการ/บริษัท และในระดับคลัสเตอร์ รวมทั้งผลการพัฒนาโดยใช้ Cluster-based Approach ทำให้ SMEs มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนในอนาคต ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเจาะลึก 2 คลัสเตอร์ ได้แก่  คลัสเตอร์ผักปลอดภัยจากสารพิษภาคตะวันตก จังหวัดนครปฐม และคลัสเตอร์สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนจำกัด ผลการศึกษาพบว่า 1) คลัสเตอร์ผักปลอดภัยจากสารพิษภาคตะวันตก จังหวัดนครปฐมเกิดจากการริเริ่มของผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกพืชผักร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลุ่มเกษตรกรทำสัญญาและสถาบันคีนันแห่งเอเชีย และคลัสเตอร์สหกรณ์โคเนื้อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นคลัสเตอร์ที่พัฒนามาจากรูปแบบสหกรณ์ และเชื่อมเครือข่ายกับวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อในเขตปฏิรูปที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม(สปก.) โดยมีสถาบันคีนันแห่งเอเชียให้การสนับสนุนส่งเสริม 2) ทั้ง 2 คลัสเตอร์พัฒนาโดยใช้ระบบการตลาดนำ 3) คลัสเตอร์ทั้ง 2 ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ระยะเวลาการพัฒนาระหว่าง 3-8 ปี (ข้อมูลจนถึงปี พ.ศ. 2553) ผลของการนำวิธีการคลัสเตอร์มาใช้ สร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มดังนี้ 1) การเพิ่มผลิตภาพทั้ง 2 คลัสเตอร์ผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดของผู้บริโภค คลัสเตอร์ผักปลอดภัยจากสารพิษภาคตะวันตก จังหวัดนครปฐม ผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษตรงตามมาตรฐาน Global GAP และคลัสเตอร์สหกรณ์โคเนื้อ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด ผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพที่เทียบได้กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 2) สร้างนวัตกรรมต่อเนื่องและนวัตกรรมทำให้เกิดการเติบโตของผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ คลัสเตอร์ผักปลอดภัยจากสารพิษภาคตะวันตก จังหวัดนครปฐม พัฒนาระบบ Thai GAP เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษและมีการตรวจประเมินตามระบบ เกษตรกรได้รับการรับรองการผลิตตามระบบมาตรฐาน Thai GAP และคลัสเตอร์สหกรณ์โคเนื้อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด พัฒนาระบบการผลิตคุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับเนื้อโคตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำโดยใช้ไมโครชิพ

Article Details

How to Cite
พินัยทรัพย์ บ. (2013). การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยใช้แนวทางคลัสเตอร์: กรณีศึกษา คลัสเตอร์ผักปลอดสารพิษ และคลัสเตอร์สหกรณ์โคเนื้อ. NIDA Development Journal, 52(3), 155–192. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/5165
Section
Articles