ปัญหาการปฏิรูปกฎหมายสุขภาพเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำของสิทธิในการได้รับ บริการสาธารณสุขจากรัฐ

Main Article Content

ตรีเพชร์ จิตรมหึมา

Abstract

บทคัดย่อ

สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐเป็นภารกิจของรัฐในทางสังคมที่รัฐพึงจัดให้แก่ประชาชน ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีบุคคลอีกจำนวนมากที่ไม่ได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐ เนื่องจาก
มีความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมกันของการใช้สิทธิดังกล่าว แม้รัฐจะกำหนดนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพของประชาชนก็ตาม แต่นโยบายดังกล่าวไม่อาจขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมและประสบความสำเร็จได้ หากปราศจากเครื่องมือที่จะใช้ผลักดัน ทั้งนี้ เครื่องมือที่จะใช้ดำเนินการเช่นว่านี้ คือ กฎหมาย โดยกฎหมายที่สำคัญในประเด็นนี้ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม
พ.ศ. 2550
(มาตรา 51) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตาม กฎหมายเหล่านี้ยังคงต้องมีการปฏิรูปต่อไปตามพัฒนาการแห่งวิทยาการของการบริการสาธารณสุข  และแม้การปฏิรูปกฎหมายจะได้ผลลัพธ์เป็นกฎหมายที่ดีเพียงใดก็ตาม แต่กฎหมายก็ไม่อาจบรรลุผลตามเจตนารมณ์ร่วมกันได้ หากรัฐและประชาชนขาดความเคารพต่อกฎหมายนั้น ดังนั้น รัฐและประชาชนต้องเคารพกฎหมายที่ตราขึ้น โดยยอมจำกัดอำนาจ สิทธิ และเสรีภาพบางประการแห่งตน ยอมรับ ปฏิบัติ และอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

Article Details

Section
Articles