การบริการสุขภาพโรงพยาบาลชุมชนที่มีชายแดนติดประเทศลาว พม่า และกัมพูชา เมื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

Authors

  • อรทัย ศรีทองธรรม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี
  • สุภาภรณ์ สงค์ประชา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
  • วิศิษฐ์ สงวนวงศ์วาน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • สุวารี เจริญมุขยนันท์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

Keywords:

การบริการสุขภาพ, โรงพยาบาลชุมชนตามแนวชายแดน, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์บริการสุขภาพแนวโน้มปัญหาและการจัดการของโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศลาว กัมพูชา และพม่า  ศึกษาเชิงสำรวจในโรงพยาบาลชายแดน 1 โรงพยาบาลชายแดน 3 และโรงพยาบาลชายแดน 2 เก็บข้อมูลแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากรายงานการรักษา รายงานการเงิน สัมภาษณ์เจาะลึกกับตัวแทนผู้ให้บริการสุขภาพ 50 คน และสัมภาณ์กลุ่ม กับกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่มารับบริการในโรงพยาบาล 25 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา

ในปี 2552-2554 โรงพยาบาลชายแดน 2ให้บริการชาวลาว 20% แบกรับภาระค่ารักษาพยาบาล จำนวน 1.5-2.2 ล้านบาท โรงพยาบาลชายแดน 3 ให้บริการชาวพม่า 40-50 % แบกรับภาระค่ารักษาพยาบาล 0.73-1.11 ล้านบาท และโรงพยาบาลชายแดน 1ให้บริการชาวพม่า 40-50 % แบกรับภาระค่ารักษาพยาบาล 0.4-0.7 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการให้บริการส่วนใหญ่มาจากแผนกผู้ป่วยใน แนวโน้มปัญหาเมื่อรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 คือการเพิ่มขึ้นของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ส่งผลให้โรงพยาบาลชุมชนตามแนวชายแดนเพิ่มภาระงานบริการสุขภาพ ภาระเงิน การแย่งใช้ทรัพยากรสาธารณสุขที่จำเป็น ความจำกัดสถานที่ให้บริการ เกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ การเคลื่อนย้ายบุคลากรสาธารณสุขสู่ระบบเอกชน ส่งผลต่อภาวะสุขภาพคนไทยและระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย  จึงควร 1) มียุทธศาสตร์ด้านระบบบริการสุขภาพระหว่างประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน               2) จัดอัตรากำลังบุคลากรสาธารณสุขแนวชายแดนตามภาระงานบริการจริง และ 3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลบริการสุขภาพในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ คนไร้รัฐ และชาวต่างด้าว

Downloads

How to Cite

ศรีทองธรรม อ., สงค์ประชา ส., สงวนวงศ์วาน ว., & เจริญมุขยนันท์ ส. (2017). การบริการสุขภาพโรงพยาบาลชุมชนที่มีชายแดนติดประเทศลาว พม่า และกัมพูชา เมื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558. NIDA Development Journal, 57(1), 85–108. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/72863