ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการจัดการองค์ความรู้ การมีอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง ความสามารถในการทำบัญชีครัวเรือน การจัดการฟาร์มข้าวอินทรีย์ ความสำเร็จของ การจัดการฟาร์มข้าวอินทรีย์ และความมั่นคงในชีวิตของเกษตรกรในจังหวัดยโสธร

Authors

  • นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Keywords:

การจัดการองค์ความรู้, การมีอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง, ความสามารถในการทำบัญชีครัวเรือน, ความสำเร็จของการจัดการฟาร์มข้าวอินทรีย์, ความมั่นคงในชีวิต

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง การจัดการองค์ความรู้ การมีอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง ความสามารถในการทำบัญชีครัวเรือน การจัดการฟาร์มข้าวอินทรีย์ ความสำเร็จของการจัดการฟาร์มข้าวอินทรีย์และความมั่นคงในชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดยโสธร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 320 คน และใช้วิธีการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ความสำเร็จของการจัดการฟาร์มข้าวอินทรีย์ส่งผลเชิงบวกต่อความมั่นคงในชีวิต ซึ่งความสำเร็จที่สำคัญ คือ การผลิตข้าวอินทรีย์ได้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนด การได้รับผลตอบแทนจากการผลิตข้าวอินทรีย์เป็นไปตามเป้าหมาย และมีรายได้จากการผลิตข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เงื่อนไขดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรมีความสำเร็จและมีความมั่นคงในชีวิตเพิ่มขึ้นได้ ความสำเร็จของการจัดการฟาร์มข้าวอินทรีย์ที่สำคัญ  คือ เกษตรกรต้องมีการจัดการฟาร์มข้าวอินทรีย์ที่ดี ซึ่งต้องอาศัยการจัดการความรู้  การมีอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง ความสามารถในการทำบัญชีครัวเรือน และการมีส่วนร่วมของภาคี เช่น การมีโอกาสในการเข้าร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินปัญหากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะช่วยให้การจัดการองค์ความรู้ประสบผลสำเร็จและนำมาใช้พัฒนาการจัดการฟาร์มข้าวอินทรีย์ได้ 

Downloads

How to Cite

ส่งศรีโรจน์ น. (2017). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการจัดการองค์ความรู้ การมีอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง ความสามารถในการทำบัญชีครัวเรือน การจัดการฟาร์มข้าวอินทรีย์ ความสำเร็จของ การจัดการฟาร์มข้าวอินทรีย์ และความมั่นคงในชีวิตของเกษตรกรในจังหวัดยโสธร. NIDA Development Journal, 57(1), 109–125. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/72864