การจัดการความรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพ ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการจัดการความรู้ของบุคลากร ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้และนวัตกรรมของบุคลากร ด้วยวิธีการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 326 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนผลการศึกษา พบว่า บุคลากรมีระดับการจัดการความรู้ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลด้านตำแหน่งงานและหน่วยงานมีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากร โมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้และนวัตกรรมของบุคลากรมีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=483.39, df=698, P-value=1.0000, GFI=0.94, AGFI=0.91, RMSEA=0.000, RMR=0.021) จากการศึกษายังพบว่าปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรและปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลทางตรงต่อการจัดการความรู้และนวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งพบว่าปัจจัยด้านการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อนวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน
Article Details
How to Cite
เอื้อจิระพงษ์พันธ์ ส., บัณฑิตย์ อ., & ชุติธรพงษ์ จ. (2013). การจัดการความรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพ ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. NIDA Development Journal, 53(1), 1–36. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/8930
Section
Articles