องค์การแห่งความสุขกับการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
Keywords:
องค์การแห่งความสุข, ความเหลื่อมล้ำในองค์การ, ความเหลื่อมล้ำในสังคมAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะขององค์การแห่งความสุขที่เกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำในองค์การ และเพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การแห่งความสุขที่ส่งผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำทั้งในองค์การและในด้านอื่น ๆ ของสังคม การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสำรวจเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมผลการศึกษาพบว่า ความเหลื่อมล้ำมีลักษณะเป็นเหมือนลูกโซ่ โดยความเหลื่อมล้ำภายในและภายนอกองค์การมีความสัมพันธ์กัน ความเหลื่อมล้ำในองค์การแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ และ ความเหลื่อมล้ำที่ก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างพนักงาน การเป็นองค์การแห่งความสุขสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าวได้ โดยลดความความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ด้วยการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และลดความเหลื่อมล้ำที่ก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างพนักงาน ด้วยวิธีต่าง ๆ คือ 1) การพัฒนาความรู้ ความสามารถ 2) การสร้างสัมพันธภาพในองค์การ 3) การสร้างการยอมรับพนักงาน 4) การบริหารจัดการ 5) การสร้างวัฒนธรรมองค์การ 6) การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ 7) ภาวะผู้นำที่ดีนอกจากนี้องค์การแห่งความสุขยังสามารถลดความเหลื่อมล้ำด้านอื่น ๆ ของสังคมได้ โดย 1) การไม่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในองค์การ 2) การลดความเหลื่อมล้ำในองค์การ 3) การมีความรับผิดชอบต่อสังคม และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ของการเป็นองค์การแห่งความสุขยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในมิติต่าง ๆ คือ ความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านความรู้ และโอกาสหากแบ่งบทบาทของผู้ที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบโดยตรงเพื่อสร้างองค์การแห่งความสุข (เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม) สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ ระดับพนักงาน ระดับบุคคล ระดับองค์กร และระดับสังคม โดยระดับบุคคลเป็นความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคล ระดับองค์กร เป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กร และระดับสังคม เป็นหน้าที่ของฝ่ายผลิต และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility: CSR)Downloads
Published
2013-06-06
How to Cite
อุตสาหจิต ว., & แก้วพิจิตร จ. (2013). องค์การแห่งความสุขกับการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม. NIDA Development Journal, 53(1), 67–102. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/8940