การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจค้าปลีกกลุ่มจังหวัดลำดับที่ 12 ของไทย

Authors

  • สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์

Keywords:

เศรษฐกิจพอเพียง, ธุรกิจค้าปลีก, กลุ่มจังหวัดลำดับที่ 12 ของไทย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบธุรกิจค้าปลีกของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกกลุ่มจังหวัดลำดับที่ 12 ของไทยและเพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกกลุ่มจังหวัดลำดับที่ 12 ของไทย  โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกที่มีสถานประกอบการในเขตเทศบาลในพื้นที่ของกลุ่มจังหวัดลำดับที่ 12 ของไทย ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด  ขอนแก่น มหาสารคาม  และกาฬสินธุ์  จำนวน 389 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way ANOVA)ผลการวิจัยพบว่า  ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง  ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก มีความคิดเห็นด้วยกับการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจค้าปลีกโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก  ได้แก่  ด้านการวิเคราะห์องค์กร  ด้านการตลาด  ด้านการเงิน  ด้านบุคลากร  และด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม  ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก ที่มีอายุและระยะเวลาในการประกอบธุรกิจแตกต่างกัน  มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์องค์กร  ด้านการตลาด  ด้านการเงิน ด้านบุคลากร  และด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม  ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก  ที่มีอายุและระยะเวลาในการประกอบธุรกิจแตกต่างกัน  มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมและเป็นรายด้าน  ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์องค์กร ด้านการตลาด  ด้านการเงิน ด้านบุคลากรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P <0.05)

Downloads

Published

2013-06-06

How to Cite

เอี่ยมวิจารณ์ ส. (2013). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจค้าปลีกกลุ่มจังหวัดลำดับที่ 12 ของไทย. NIDA Development Journal, 53(1), 161–190. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/8965