ผลของการพัฒนาประเทศต่อความพึงพอใจในชีวิตของคนไทย
Keywords:
คุณภาพชีวิต, ความพึงพอใจในชีวิต, วิธีการประเมินความพึงพอใจในชีวิตAbstract
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาดัชนีบ่งชี้คุณภาพชีวิตของคนไทยในอนาคต งานศึกษานี้อาศัยข้อมูลการสำรวจคุณภาพชีวิตของคนไทยซึ่งจัดทำโดยสำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในระหว่างปี 2550-51ในการตอบคำถามว่าปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัจจัยส่วนบุคคลและครัวเรือนมีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุขที่ประเมินจากความพึงพอใจในชีวิตของปัจเจกบุคคลหรือไม่ อย่างไร โดยใช้วิธีการประเมินความพึงพอใจในชีวิตแบบ additive utility เปรียบเทียบกับการประเมินแบบ utility decisionผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ เช่น การมีงานทำ รายได้และค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ตลอดจนค่าครองชีพที่สูงขึ้นจะมีผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตของคนไทยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาสิ่งแวดล้อม การได้แสดงความคิดเห็นทางการเมือง การเข้าถึงบริการสาธารณูปโภค ความพึงพอใจในงานที่ทำ ความผูกพันในครอบครัว และการอาศัยอยู่ในชุมชนเป็นเวลานาน เหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อการประเมินความพึงพอใจในชีวิตของบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วย ผลการศึกษานี้จึงสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การพัฒนาประเทศอย่างมีคุณภาพไม่อาจมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว แต่ควรอาศัยปัจจัยทางสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินการกินดีอยู่ดี (Wellbeing) และคุณภาพชีวิตของคนไทยด้วยDownloads
Published
2013-06-06
How to Cite
อภินันท์มหกุล อ., & มั่งสวัสดิ์ ป. (2013). ผลของการพัฒนาประเทศต่อความพึงพอใจในชีวิตของคนไทย. NIDA Development Journal, 53(1), 191–219. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/8968