ตัวแบบจำลองสำหรับจัดให้มีการกำกับดูแลกิจการและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์
Keywords:
การจัดให้มีการกำกับดูแลกิจการและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม, การบริหารจัดการองค์กรเชิงกลยุทธ์, การสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์Abstract
การศึกษาเสนอตัวแบบจำลองสำหรับจัดให้มีการกำกับดูแลกิจการ (CG) และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์แก่ผู้ถือหุ้นให้มีระดับที่สูงที่สุดและอย่างยั่งยืน ตัวแบบนับเป็นตัวแบบในกลุ่มการบริหารจัดการองค์กรเชิงกลยุทธ์ แต่มีลักษณะสามประการสำคัญที่ต่างจากตัวแบบอื่น คือ หนึ่ง ตัวแบบมิได้เน้น CG และ CSR เป็นหลัก แต่เน้นการบริหารจัดการองค์กรเชิงกลยุทธ์ที่ยึดมั่นในหลัก CG และ CSR การบริหารจัดการองค์กรจึงนำไปสู่การสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์โดยแท้ในขณะที่ยังยึดหลัก CG และหลัก CSR ครบถ้วนเต็มที่ สอง ตัวแบบยกตัวตนขององค์กรขึ้นมาพิจารณาประกอบและพิจารณาย้อนกลับไปปรับปรุงตัวตนองค์กรอีกครั้ง ตัวตนขององค์กรมีความสำคัญเพราะเป็นฐานรากให้การจัดให้มี CG และ CSR เกิดขึ้นได้จริง และ สาม ตัวแบบเน้นการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้กิจการสามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในหมู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ได้ผลที่ดี การประยุกต์ใช้และการสื่อสารตัวแบบทำโดยอ้างอิงตัวชี้วัด ระดับคะแนนและคำพรรณนาที่กิจการได้ระบุไว้ก่อนเป็นการล่วงหน้า จากนั้น กิจการจึงวิเคราะห์ส่วนต่างระหว่างระดับ CG และ CSR ณ เวลาปัจจุบันและระดับที่กำหนดเป็นเป้าหมาย ออกแบบและดำเนินการตามแผนงานเพื่อขจัดส่วนต่าง ซึ่งเมื่อขจัดส่วนต่างได้แล้ว กิจการย่อมมีระดับ CG และ CSR อยู่ที่ระดับเป้าหมาย และมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ถือหุ้นย่อมมีระดับที่สูงขึ้นจนเป็นที่สุดDownloads
Published
2013-06-06
How to Cite
ขันธวิทย์ อ. (2013). ตัวแบบจำลองสำหรับจัดให้มีการกำกับดูแลกิจการและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์. NIDA Development Journal, 53(1), 297–328. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/8975