ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 205 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 6 ด้าน คือ ทักษะด้านการสร้างทีมงาน ทักษะด้านการสร้างความสัมพันธ์ ทักษะด้านการแก้ไขปัญหา ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านการสื่อสาร และทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี 2) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุดมีจำนวน 4 ด้าน คือ การทำงานเป็นทีม การพัฒนาผู้เรียน การบริหารจัดการชั้นเรียน และการพัฒนาตนเอง ส่วนด้านที่อยู่ในระดับมาก มีจำนวน 4 ด้าน คือ การบริการที่ดี การออกแบบการเรียนรู้ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการวิเคราะห์และสังเคราะห์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.705**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). “ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21.” วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(1), 304-306.
ฐิติณัฐ ปรุงชัยภูมิ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับ ประสิทธิผล การปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ณิชพร คำเถียร. (2561). “แรงจูงใจกับการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครู ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.”วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1),1-13.
ณัฐพงษ์ มูฮำหมัด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาในเขตอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา.
สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ทิพวัลย์ ชาลีเครือ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตร และการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ:
สุวิริยาสาส์น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540).วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ:
สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุริยา ทองยัง. (2558). ทักษะของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะล่อม สังกัดกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). “การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา.”
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม,
(1), 1-15.
อดุลย์พร ชุ่มชวย. (2562). “ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง.”วารสารศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัย, 7(2), 175-186.
อารีย์ วรวงษ์. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานด้านการเรียนการสอนของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.