การสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านไทยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ในสถานการณ์โควิด-19

Main Article Content

กานต์พิชชา สุมาวัน
วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

           การสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านไทยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ในสถานการณ์โควิด-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านไทยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี สู่การสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยชุด “ที่สุดท้าย” ที่สามารถสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 โดยมีขอบเขตในการศึกษาที่ชุมชนหมู่บ้านไทยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ด้วยกระบวนการวิจัยทั้งแบบคุณภาพและสร้างสรรค์ โดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การสำรวจข้อมูลภาคสนาม และประสบการณ์ของผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่าการประยุกต์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านไทยวนเพื่อสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยชุด “ที่สุดท้าย” ประกอบด้วยวิถีชีวิตการทอผ้า การอนุรักษ์ท่าฟ้อน การแต่งกาย และทรงผม นำมาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน สามารถนำเสนอศิลปะการแสดงพื้นบ้านรูปแบบใหม่ บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ตัวตนของคนไทยวนในระหว่างที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารให้ผู้ชมได้เข้าใจ เกิดมุมมองความคิดใหม่ และตระหนักรู้ถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและโลกปัจจุบัน สะท้อนผ่านการใช้องค์ประกอบและศิลปะการแสดงพื้นบ้านสร้างสรรค์และตีความเล่าเรื่องราวด้วยกลวิธีร่วมสมัย ทั้งนี้การสร้างสรรค์ผลงานมีความแตกต่างไปจากแบบดั้งเดิม ผู้วิจัยมิได้มีจุดประสงค์เพื่อทำลาย แต่เป็นการต่อยอดความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านให้ดำรงอยู่ในโลกสมัยใหม่ได้อย่างเท่าทันและเข้ากับบริบทของสังคม อันจะทำให้มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์ สืบสาน เผยแพร่ สร้างสรรค์ และไม่ถูกกลืนหายไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). 9 วิธี หนีโควิด. สระบุรี: กรมควบคุมโรค จังหวัดสระบุรี.

ชุติมา มณีวัฒนา. (2550). เอกสารคำสอน รายวิชาการกำกับการแสดง 1. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ณฐภรณ์ รัตนชัยวงศ์. (2564). ละครเวทีในกรอบ: ความท้าทายและการปรับตัวของนักแสดงกับการนําเสนอละครเวทีออนไลน์ในยุคโควิด-19. วารสารศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทา, 1(1), 1-22.

ประชาชาติธุรกิจ. (2563). คนกรุงเทพฯ แห่กลับภูมิลำเนา หมอชิตแน่น (ภาพชุด). สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/general/news-435775.

ภัททิรา วิริยะสกุลธรณ์. (2551). บทบาทสื่อพิธีกรรมในการอนุรักษ์แม่น้ำป่าสักของชาวไท-ยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ภูกิจ พาสุนันท์. (2563). “รำชาตรี หนีโควิด” โดยวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://web.facebook.com/phukit.pasunant/posts/3101662436540026.

ยูเนสโก กรุงเทพฯ. (2563). วิกฤตการณ์โควิด-19: แรงผลักดันสู่การเรียกร้องในการปฏิรูปนโยบายอุตสาหกรรมงานสร้างสรรค์. สืบค้นจาก https://bangkok.unesco.org/th/content/Covid-19-crisis-drives-call-creative-industries-policy-reform.

วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ. (2559). การสร้างสรรค์ละครล้านนาร่วมสมัยที่พัฒนาจากเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ: กรณีศึกษาเรื่องศศิวิภา ริชาร์ดสัน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(3), 9-23.

วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ. (2561). “ไล่ล่า” การสร้างสรรค์การแสดงโนราร่วมสมัยตามแนวคิดกลวิธีการแสดงของสตานิสลาฟสกี. วารสารอักษรศาสตร์, 46(2), 105-170.

วิภา จิรภาไพศาล. (2561). อัตลักษณ์คนไทยวน เรื่องเล่าจากย่ามและผ้าซิ่น ฯลฯ. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/news/article_19466.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร. สืบค้นจาก shorturl.at/dhOV6.

หยกฟ้า อิศรานนท์. (2563). อาการรังเกียจโควิด-19 แก้ไขอย่างไร. สืบค้นจาก https://www.chula.ac.th/cuinside/29207/.

Kraton Jokja. (2020, March 24). Lumba Tari Virtual: Beksan Nir Corona Keraton Yogyakarta [Video File]. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=f879Vw4cSvo.

World Health Organization Thailand. (2020). Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers. Retrieved from https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-Covid-19.